จะจัดการของเสียในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางอย่างไร แบบไหนถึงเรียกว่า “ของเสีย”

    • 9 มี.ค. 2023

    ของเสียในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในที่นี้ไม่ได้จำกัดแค่เครื่องสำอางที่หมดอายุเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงสินค้าที่มีการผลิตที่ผิดมาตรฐานไม่เป็นไปตามข้อกฎหมายที่กำหนดไว้ หรือเครื่องสำอางปลอม ด้วยเครื่องสำอางคือผลิตภัณฑ์ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าอันตรายจึงจำเป็นที่จะต้องมีการรับมือ เตรียมพร้อมวิธีการกำจัดที่เป็นไปตามข้อกฎหมาย ซึ่งพี่พรและพี่วุฒิจะมาขยายความตีแผ่วงการผลิตเครื่องสำอาง แนวทางการเตรียมพร้อมและการรับมือกับของเสียที่เกิดขึ้น ใน Ep. 5 นี้

    เจาะลึกเรื่องราวการผลิตเครื่องสำอาง

    ในการผลิตเครื่องสำอางขึ้นมาสักหนึ่งชิ้นจะต้องให้ความสำคัญในการเลือกส่วนประกอบทุกส่วนของผลิตภัณฑ์ โดยส่วนประกอบของเครื่องสำอางนั้นประกอบไปด้วย 1.วัตถุดิบ (สารก่อเนื้อ, สารออกฤทธิ์, สี, น้ำหอม, สารกันเสีย) 2.บรรจุภัณฑ์ภายนอก 3.บรรจุภัณฑ์ภายใน (หลอด, ขวด, กระปุก ฯลฯ) 4.บรรจุภัณฑ์สำหรับใช้ในการขนส่ง ภายในอุตสาหกรรมการนำวัตถุดิบมาผสมเป็นเนื้อผลิตภัณฑ์จะเรียกว่า Bulk และนำไปบรรจุในแพคเกจจิ้งจนเสร็จสิ้นกระบวนการผลิตกลายเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำเร็จรูป (FG) ซึ่งระหว่างการผลิตนั้นทุกขั้นตอนมีความเสี่ยงที่จะเกิดของเสียขึ้นในระหว่างการผลิตจนกลายเป็นของเสีย ต้องนำไปตรวจสอบซ้ำ และนำไปทำลาย ตามลำดับ

    การตรวจสอบของเสีย กับเครื่องสำอางที่ไม่เป็นไปตามสเปค

    เมื่อเกิดของเสียขึ้นในระหว่างการผลิต จะต้องมีการตรวจสอบว่าคุณภาพตรงงตามสเปคของชิ้นงานนั้นๆหรือไม่ หากไม่ผ่านการตรวจสอบจะถูกจัดอยู่ในหมวดของของเสียที่ไม่สามารถนำไปใช้งานและจัดจำหน่ายได้ ต้องรอนำส่งทำลายเพียงอย่างเดียว ซึ่งการกำหนดสเปคของสินค้าในการผลิตนั้นโดยปกติล้วจะมีการกำหนดอยู่ 2 แบบ คือ             1. In-House spec เป็นการกำหนดสเปคตามมาตรฐานของโรงงานผลิตนั้นๆซึ่งเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนด และ     2. Customer spec กำหนดสเปคของสินค้าตามความต้องการของลูกค้าที่มีความต้องการเฉพาะเจาะจงหรือมากกว่าสเปคขั้นต่ำของโรงงาน หากลูกค้ามีการกำหนดสเปคโดยเฉพาะทางโรงงานจะยึดความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก สำหรับเกณฑ์โดยทั่วไปที่ใช้ในการตรวจสอบมาตรฐานของวัตถุดิบหรือเนื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ว่าเป็นไปตามเกณฑ์และสามารถนำมาใช้ได้หรือไม่จะมีการตรวจสอบคุณลักษณะทั้ง 3 อย่าง ดังนี้

    1. การตรวจสอบทางกายภาพ (สี, กลิ่น, เนื้อสัมผัส)
    2. การตรวจสอบทางเคมี ( PH, ค่าความหนืด, ความจุจำเพาะ, ความคงตัว เป็นต้น)
    3. ตรวจสอบทางชีวภาพ ( ตรวจสอบเชื้อต่างๆ )

    การตรวจเช็คของหมดอายุ

    การตรวจสอบวัตถุดิบปกติแล้วจะมี การตรวจเช็ควันหมดอายุตาม COA (ใบรายงานผลการตรวจวิเคราะห์สินค้า ทดสอบ หรือ รับรองคุณภาพ ของสินค้า) ซึ่งในช่วงระยะเวลาก่อนหมดอายุตามสเปคที่กำหนดระหว่างการจัดเก็บจะมีฝ่ายคุณภาพQC/QA เข้ามาตรวจสอบวัตถุดิบตามแผนกำหนดตรวจสอบคุณภาพตามแผนของบริษัท ซึ่งแล้วแต่บริษัทว่าจะกำหนดรอบการเข้าตรวจเช็คตามรอบทุก 1 เดือน/ 3 เดือน หรือ 6 เดือน และตรวจเช็คจากการตรวจคุณลักษณะทั้ง 3 อย่างว่ามีการเปลี่ยนปลงไปหรือไม่

    ของเสียกับการซื้อขั้นต่ำ ในอุตสาหกรรมจะมีการแอบนำของเสียที่หมดอายุมาผลิตหรือไม่?

    บางกรณีที่ฝ่ายคุณภาพ QMR QC QA ตรวจเช็ควัตถุดิบอาจพบว่าคุณลักษณะทางเคมี และชีวภาพผ่านเกณฑ์ปกติ แต่คุณลักษณะทางกายภาพมีการเปลี่ยนแปลงไป อาจนำมาใช้ผลิตได้แต่ต้องมีการตรวจเช็คหลายรอบจนมั่นใจว่าเมื่อนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตจะไม่ส่งผลเสียต่อตัวผลิตภัณฑ์ และในสมัยก่อนในวงการเครื่องสำอางเมื่อพบว่าวัตถุดิบสำหรับผลิตเครื่องสำอางนั้นหมดอายุไปแล้ว เพื่อที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายจะมีการนำไปตรวจเช็คสเปคอีกหลายครั้งว่าคุณสมบัติทั้งหมดผ่านและยังสามารถนำไปผลิตได้นั้นจะเรียกวิธีนี้ว่า “การต่ออายุเครื่องสำอาง” แต่ในปัจจุบันด้วยพรบ.เครื่องสำอางที่มีการกำหนดข้อกฎหมายใหม่ทำให้โรงงานไม่สามารถใช้กรณีนี้เพื่อลดจำนวนของเสียได้แล้ว ไม่อย่างนั้นจะถือว่าเป็นการทำผิดกฎหมาย

    ฝากมุมมองจากประสบการณ์การจัดการของเสียในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง

    Garbage in garbage out “การนำขยะเข้า จะได้ ขยะออก” หากเราสามารถควบคุมกระบวนการการนำวัตุถุดิบหรือแพคเกจจิ้งต่าง ๆ ให้ถูกต้องตามเกณฑ์และดีตั้งแต่แรก มันจะไม่ยากที่จะควบคุมให้ผลิตภัณฑ์คงคุณภาพเป็นไปตามสเปคที่กำหนด และจะสามารถเตรียมพร้อมต่อการรับมือกับของเสียที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    QBP Podcast

    HOST

    สุริยาภรณ์ ฉันทกุล

    นักบริหารคุณภาพ

    ผู้เชี่ยวชาญระบบมาตรฐาน ISO

    วุฒิพงษ์ ผาณิตเศรษฐกร

    ผู้ร่วมก่อตั้ง TIBD

    ที่ปรึกษาธุรกิจ

    สามารถติดตามช่องทางอื่น ๆ ได้ที่