The-Business-Model-Canvas-Banner

กำหนดแผนการดำเนินธุรกิจด้วย Business Model Canvas

Business Model Canvas เครื่องมือที่จะช่วยแก้ปัญหาและตอบคำถามของผู้ที่อยากจะเริ่มทำธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือโปรเจคใหม่ๆ นั้นมีหลากหลาย แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคำถามยอดฮิตที่ทำให้หลายๆ คนไม่สามารถเริ่มธุรกิจได้นั้นคงเป็นคำถามว่า ขายอะไรดี ขายให้ใคร ขายที่ไหน ฯลฯ และเมื่อพอจะมีแนวทางที่อยากทำแล้วแต่สิ่งที่อยากทำก็ไม่เป็นรูปเป็นร่างสักทีจนเกิดเป็นคำถามทีว่า เริ่มต้นยังไง?  ในปัจจุบันมีเครื่องมากมายที่ช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้นและหนึ่งในเครื่องมีที่เป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบันก็คือ Business Model Canvas (BMC) ซึ่ง Business Model Canvas ถูกใช้อย่างแพร่หลายทั้งในกลุ่ม Start Up ที่อยากจะเริ่มทำธุรกิจ ตลอดจนบริษัทขนาดใหญ่อย่าง Apple, Lego, Microsoft, Netflix, Uber, 3M ฯลฯ ก็ยังใช้ Business Model Canvas ในการวางแผนธุรกิจหรือทำ Business Unit ใหม่ๆ

องค์ประกอบของ Business Model Canvas

Business Model Canvas ประกอบด้วย 9 หัวข้อสำคัญ ดังนี้

  1. Customer Segments กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
  2. Value Propositions คุณค่าที่จะส่งมอบให้กับลูกค้า
  3. Channels ช่องทางที่จะเข้าถึงลูกค้า
  4. Customer relationships การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า
  5. Revenue Streams ช่องทางหรือรูปแบบการหารายได้ของธุรกิจ
  6. Key Resources ทรัพยากรหลักของธุรกิจ
  7. Key Activities สิ่งสำคัญที่ต้องทำเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ
  8. Key Partners พันธมิตรหลักของเรา
  9. Cost Structure ค่าใช้จ่ายหลักของธุรกิจ
Business-Model-Canvas_-Goal

Business Model Canvas เริ่มจากส่วนไหนดี

1. Customer Segments (CS)

กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คือ กลุ่มลูกค้าหลักที่เรานำสินค้าหรือบริการของเราเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาให้กับเขา โดยสิ่งสำคัญที่สุดในการทำ CS คือเราต้องรู้จักและเข้าใจปัญหาของลูกค้าของเราอย่างแท้จริงเพื่อที่จะออกแบบสินค้าหรือบริการของเราให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า และต้องแยกระหว่างคนซื้อสินค้ากับคนใช้สินค้าเนื่องจากมีสินค้าและบริการหลากหลายประเภทที่คนซื้อกับคนใช้เป็นคนละคนกัน เช่น ของใช้เด็กหรือของที่จะให้เป็นของฝากหรือของขวัญ โดยข้อมูลของ Customer Segment ยิ่งระบุชัดเจน ยิ่งลึกก็จะยิ่งดี ซึ่งสิ่งที่ควรจะต้องระบุของกลุ่มเป้าหมายนั้น ควรจะระบุทั้งด้านประชากรศาสตร์ ภูมิศาสตร์ จิตวิทยารวมถึงพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายด้วย

2. Value Propositions (VP)

คุณค่าที่จะส่งมอบให้กับลูกค้า ผ่านสินค้าและบริการของเราโดยคุณค่าเหล่านี้ต้องสามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาของลูกค้า (Pain Point) ได้ ซึ่ง Value Propositions เป็นส่วนที่สำคัญมาก เพราะจะเป็นตัวชี้วัดว่าสิ่งที่เราทำนั้นจะตอบโจทย์ให้กับลูกค้าได้อย่างไร ทำไมลูกค้าถึงต้องยอมจ่ายเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการของเรา สินค้าหรือบริการของเราเข้าไปช่วยแก้ปัญหาหรือส่งเสริมอะไรให้กับลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น Grab มีคุณค่าที่ส่งมอบให้กับลูกค้าโดยการช่วยแก้ปัญหาเรื่องการรอรถโดยสารนาน การถูกคนขับปฏิเสธ การถูกโกงค่าโดยสาร เป็นต้น

3. Channels (CH)

ช่องทางที่เราจะเข้าถึงลูกค้า ทั้งเพื่อการสื่อสาร การนำเสนอสินค้าหรือบริการของเราตลอดจนช่องทางในการซื้อขายสินค้ากับลูกค้า โดยช่องทางที่เราจะเลือกใช้นั้นควรจะสอดคล้องกับพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเพื่อที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างตรงจุดและใช้งบประมาณทางการตลาดได้อย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด ตัวอย่างเช่น หากกลุ่มเป้าหมายของเราเป็นวัยรุ่นอายุ 13 – 20 ปี อาศัยอยู่ในกรุงเทพก็ควรจะเลือกใช้ Twitter ในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย แต่หากเป็นกลุ่มที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปก็ควรจะใช้ Facebook ในการสื่อสารเป็นหลักทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายและการมีช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายก็จะเป็นประโยชน์ธุรกิจของเรา

4. Customer relationships (CR)

การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเรากับลูกค้าผ่านรูปแบบและวิธีการต่างๆ นอกจากการขายสินค้าหรือบริการของเราให้กับลูกค้าแล้วนั้นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้เกิดการซื้อสินค้าและบริการของเราอย่างต่อเนื่องทำให้ลูกค้าประจำมีความซื่อสัตย์กับเรามากขึ้นและทำให้ลูกค้าทั่วไปกลายเป็นลูกค้าประจำ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้านั้นในปัจจุบันมีหลากหลายวิธีอาทิ การทำระบบสมาชิก การช่วยเหลือลูกค้ารายบุคคลผ่านโทรศัพท์หรือช่องทาง Live Chat การใช้ Chatbot รวมไปถึงการสร้าง Community ใน Social Media ให้ลูกค้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

5. Revenue Streams (RS)

ช่องทางหรือรูปแบบการหารายได้ของธุรกิจ คือ รายได้หลักของธุรกิจหรือรายได้ที่เราจะได้จากลูกค้าโดยเราจะเป็นต้องรู้ว่ารายได้เหล่านี้จะมาจากช่องทางใดบ้าง โดยรูปแบบของช่องทางรายได้นั้นปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งได้เงินจากการขายสินค้า ขายบริการ การเป็นสมาชิกรายเดือน/รายปี การเป็นสมาชิกVIP การเช่า ตลอดจนการอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือวิธีการจ่ายเงินของลูกค้านั้น ควรคำนึงถึงพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายของเราและมีช่องทางการจ่ายเงินที่ตอบโจทย์และหลากหลายทั้งรูปแบบโอนเงินผ่านธนาคาร สแกน QR ตัดบัตรเครดิตเป็นต้น

6. Key Resources (KR)

ทรัพยากรหลักของธุรกิจ เนื่องจากในการดำเนินธุรกิจนั้นจำเป็นต้องรู้ว่าทรัพยากรหลักของเรานั้นคืออะไร โดยทรัพยากรเหล่านี้เป็นได้ทั้งในรูปแบบที่เป็น เงินทุน สถานที่ ระบบ วัตถุดิบ ทรัพย์สินทางปัญญา หรือทรัพยากรมนุษย์ก็ได้ ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งของการส่งต่อคุณค่าให้กับลูกค้าของเรา

7. Key Activities (KA)

สิ่งสำคัญที่ต้องทำเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ คือ กิจกรรมหลักที่เราจะต้องทำเพื่อช่วยให้ธุรกิจของเรานั้นขับเคลื่อนต่อไปได้ โดยกิจกรรมที่ทำนั้นควรเป็นกิจกรรมที่ทำแล้วช่วยตอบโจทย์ให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายและทำให้เราได้รายได้ ยกตัวอย่างเช่น Netflix กิจกรรมหลักที่ทำนั้นเป็นการสร้าง Content ใหม่ๆ การพัฒนาปรับปรุงแพลตฟอร์ม การทำวิเคราะห์ Data ของลูกค้า การทำการตลาด เป็นต้น

8. Key Partners (KP)

พันธมิตรหลักของเรา เป็นคนหรือองค์กรที่เราจำเป็นต้องมีเพื่อพึ่งพา ส่งเสริมซึ่งกันและกัน ให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่นเพราะในปัจจุบันไม่สามารถที่จะทำธุรกิจลำพังได้เนื่องจากความเชี่ยวชาญของแต่ละคนหรือองค์กรนั้นต่างกัน เราจึงจำเป็นต้องมีพันธมิตรเพื่อลดความเสี่ยง แบ่งเบางาน ประหยัดเวลา ลดต้นทุน เพื่อให้เราจะสามารถไปโฟกัสงานหลักหรือเป้าหมายที่เราจะทำได้

9. Cost Structure (CS)

ค่าใช้จ่ายหลักหรือต้นทุนของธุรกิจ ที่เป็นในรูปแบบที่คงที่และไม่คงที่ เป็นต้นทุนที่ใช้ขับเคลื่อนธุรกิจ เช่น ค่าพนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ และต้นทุนเพื่อใช้เพิ่มคุณค่าธุรกิจ เช่น งบการตลาด การคำนวณต้นทุนเหล่านี้นั้นจะสามารถทำให้เรารู้ได้ว่าต้นทุนส่วนไหนสูงเกินไป รายได้เราเพียงพอกับต้นทุนไหม การทำธุรกิจในรูปแบบนี้มีกำไรหรือขาดทุน รวมไปถึงเพื่อให้เราสามารถวางแผนทางการเงินในระยะยาวได้

The-Business-Model-Canvas
The-Business-Model-Canvas-image

ประโยชน์ของการทำBusiness Model Canvas

  • ทำให้เห็นภาพรวมของธุรกิจหรือโปรเจคที่จะทำได้อย่างรอบด้าน ทั้งมิติของลูกค้า สินค้า บริการ รายได้ และต้นทุน
  • ทำให้ภาพเป้าหมายของธุรกิจคุณชัดเจนขึ้นสามารถเข้าใจได้ว่าคุณค่าของของสินค้าบริการที่จะส่งมอบของเรานั้นจะส่งให้ใคร ด้วยวิธีไหน
  • เห็นจุดแข็ง จุดอ่อนของแผนธุรกิจของคุณ เพื่อที่จะส่งเสริมจุดแข็งและปิดจุดอ่อน
  • นำมาพัฒนาต่อเป็นกลยุทธ์ทั้งในระยะสั้น กลาง และยาวได้ในอนาคต

บริการของเรา

TIBD มีบริการให้คำปรึกษา วางแผน และออกแบบ Business Model Canvasให้เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ ซึ่งเราจะเข้ามาทำความเข้าใจไอเดียและสินค้าหรือบริการของคุณอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ได้ Business Model Canvas ที่ออกมานั้นนำไปใช้งานได้จริง สำหรับผู้ที่สนใจให้เราออกแบบและเขียนแผนธุรกิจสามารถสอบถามรายละเอียดกับเราได้ที่ คลิก

สอบถามเกี่ยวกับกำหนดกลยุทธ์และวางแผนธุรกิจด้วย Business Model Canvas

กรอกข้อมูลของคุณในแบบสอบถามด้านล่างเพื่อติดต่อเรา ทางเราจะตอบกลับให้เร็วที่สุด