
TIBD ให้บริการสกัดน้ำมันหอมระเหยด้วยตัวทำละลายอินทรีย์และการทดสอบค่าคุณภาพของน้ำมันหอมระเหย ให้แก่ธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศไทยและเอเชีย TIBD ของเราเป็นบริษัทที่มุ่งเน้นให้บริการในด้านสุขภาพและความงาม และเทคโนโลยีเชิงลึก ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในด้านนี้ เราเชื่อมั่นในความร่วมมือที่แข็งแกร่งจึงได้นำความเชี่ยวชาญทั้งหมดที่มีมารวมกันเพื่อให้บริการที่เป็นเลิศแก่ลูกค้า TIBD
โดยปัจจุบันบริษัท TIBD ได้มีความร่วมมือกับสถาบันวิจัยต่าง ๆ ที่มีการบริการรับสกัดพืชสมุนไพร, ตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพของน้ำมันหอมระเหย โดยเราจะสกัดพืช สมุนไพรด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ เพื่อให้ได้น้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์ พร้อมทั้งมีบริการทดสอบค่าคุณภาพทางกายภาพของน้ำมันหอมระเหย เพื่อนำค่าดังกล่าวมากำหนดเป็นค่ามาตราฐานของน้ำมันหอมระเหย ทั้งนี้หากท่านมีความสนใจบริการดังกล่าว สามารถติดต่อทางบริษัทได้ทุกช่องทาง
บริการสกัดน้ำมันหอมระเหยด้วยตัวทำละลายอินทรีย์และการทดสอบค่าคุณภาพคืออะไร?
การสกัดน้ำมันหอมระเหย (Methods of Extraction)
การสกัดน้ำมันหอมระเหยมีหลากหลายวิธี ซึ่งจะต้องพิจารณาส่วนของพืชที่นํามาสกัด คุณสมบัติทางเคมีและกายภาพของน้ำมันหอมระเหยที่ต้องการ วัตถุประสงค์ของการนําน้ำมันหอมระเหยไปใช้ เป็นต้น โดยวิธีการสกัด มีดังนี้
- การกลั่น (Distillation) สามารถใช้แยกน้ำมันหอมระเหยได้เกือบทุกชนิด โดยแบ่งเป็น 3 วิธี คือ
- การกลั่นด้วยน้ำ (Water distillation / hydrodistillation) นิยมใช้กับพืชที่มีองค์ประกอบทางเคมีไม่สลายตัวเมื่อถูกความร้อน การสลายตัวอาจทําให้กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยเปลี่ยนไป
- การกลั่นด้วยน้ำและไอน้ำ (Water and steam distillation) นิยมใช้กับพืชที่มีองค์ประกอบทางเคมีสลายตัวเมื่อถูกความร้อนโดยตรง พืชที่ใช้กลั่นวิธีนี้จะมีคุณภาพดีกว่าวิธีแรก
- การกลั่นด้วยไอน้ำ (Steam distillation) ใช้เวลากลั่นสั้นและน้ำมันหอมระเหยที่ได้มีคุณภาพและปริมาณสูงกว่าสองวิธีแรก
2. การสกัดด้วยตัวทําละลาย (Solvent extraction) จะได้น้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นใกล้เคียงกับกลิ่นวัตถุดิบ และกลิ่นหอมติดทนนาน วิธีนี้เป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมน้ำหอม ในการสกัดจะนำวัตถุดิบผสมกับตัวทำละลาย โดยตัวทำละลายจะดึงเอาสารออกมาจากวัตถุดิบ สิ่งที่ได้จะเรียกว่า “Extract” แล้วจึงนำไปกลั่นกรองแยกอีกขั้น โดยการเพิ่มความร้อนและความดัน สิ่งที่ได้จะเรียกว่า “Concrete” แล้วจึงนำมาผสมกับแอลกอฮอล์ และเข้ากระบวนการ vacumn extraction เพื่อสกัดให้สารบริสุทธิมากขึ้น เพื่อให้ได้ “Absolute”
3. การบีบหรือการบีบเย็น (Expression/Cold expression) มักใช้กับพืชตระกูลส้ม วิธีนี้ไม่ใช้ความร้อนจึง ได้กลิ่นใกล้เคียงกับพืชสด แต่น้ำมันที่ได้จะมีปริมาณน้อยและไม่บริสุทธิ์
4. การสกัดโดยใช้ไขมัน (Enfleurage) มักใช้กับดอกไม้กลีบบาง
5. การสกัดด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ (Super-critical carbon dioxide extraction) ใช้คาร์บอนไดออกไซด์ ภายใต้ความดันและอุณหภูมิที่สูง น้ำมันหอมระเหยที่ได้จะมีคุณภาพดีและมีความบริสุทธิ์สูง


การควบคุมคุณภาพของน้ำมันหอมระเหย
การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพของน้ำมันหอมระเหย เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีมาตราฐานตามข้อบังคับของกฎหมาย และเป็นแนวทางในการควบคุมผลิตภัณฑ์ให้มีความสม่ำเสมอ ซึ่งการตรวจวิเคราะห์มีทั้งคุณภาพทางกายภาพและคุณภาพทางเคมี มีดังนี้
- ลักษณะปรากฎภายนอก ได้แก่ สถานะ, สี และกลิ่น ของน้ำมันหอมระเหย
- ความหนาแน่น (Density) หรือ ความถ่วงจําเพาะ (Specific gravity) คืออัตราส่วนระหว่างความหนาแน่นของสสารน้ำมันหอมระเหย ต่อความหนาแน่นของน้ำ
- ดัชนีหักเหของแสง (Refractive index, RI) คือ ดัชนีการหักเหแสงของน้ำมันหอมระเหยที่บอกความเร็วของลำแสงที่เคลื่อนผ่านสื่อกลาง (สื่อกลาง ได้แก่ น้ำ, น้ำมันมะกอก เป็นต้น)
- ความสามารถการละลาย (Solubility) การเลือกสารละลายเพื่อทดสอบการละลายของน้ำมันหอมระเหย ขึ้นกับการนำน้ำมันหอมระเหยไปพัฒนาผลิตภัณฑ์แต่ละรูปแบบ เช่น น้ำหอม, เครื่องสำอาง หรือ ผลิตภัณฑ์ปรับอากาศ เป็นต้น
น้ำมันหอมระเหย ผลิตผลสกัดจากสมุนไพร
น้ำมันหอมระเหย (Essentail Oils) เป็นสารอินทรีย์ที่พืชผลิตขึ้นตามธรรมชาติ มักมีกลิ่นหอมและระเหยได้ง่ายที่ อุณหภูมิห้อง โดยระดับของน้ำมันหอมระเหยที่พบจะมีตั้งแต่ 0.01-10% มีองค์ประกอบทางเคมีที่สลับซับซ้อนและแตกต่างกันนับสิบร้อยชนิด ซึ่งบางชนิดอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ อาจทำให้เกิดการระคายเคืองหรือเกิดอาการเป็นพิษ
แหล่งที่มาของน้ำมันหอมระเหย พบได้ตามส่วนต่างๆของพืช เช่น กลีบดอก ผิว เกสร ราก เปลือก หรือยางที่ออกมาจากเปลือก โดยพืชจะมีบริเวณพิเศษซึ่งทําหน้าที่เก็บสะสมสารที่มีกลิ่นหอม ได้แก่
- Oil cells หรือ Resin cells พบได้จากพืชวงศ์อบเชย (Lauraceae) พืชวงศ์ขิง (Zingiberaceae) และพืชวงศ์พริกไทย (Piperaceae)
- Oil cavities หรือ Oil sacs พบได้จากพืชวง์ส้ม (Rutaceae) และพืชวงศ์ชมพู่ (Myrtaceae)
- Oil canals หรือ Resin canals พบได้จากพืชวงศ์ ผักชี(Apiaceae/Umbelliferae) และพืชวงศ์สน (Pinaceae)
- Oil ducts พบได้จากพืชวงศ์ Asteraceae เช่น คาโมไมล์
- Glandular hairs พบได้จากพืชวงศ์กะเพรา (Lamiaceae)
- Internal hairs พบได้จากพืชวงศ์กล้วยไม้ (Orchidaceae)
- Parenchyma หรือ Idioblast พบ ได้จากพืชวงศ์จําปา (Magnoliaceae)




บริการนี้เหมาะกับใคร?
TIBD ของเราพร้อมให้บริการบริษัทต่างๆ ที่อยู่ในแวดวงสายสุขภาพและความงาม เช่น
- ซัพพลายเออร์สารสกัดจากธรรมชาติ ส่วนผสมออกฤทธิ์สำคัญในเครื่องสำอาง
- เจ้าของแบรนด์เครื่องสำอาง, น้ำหอม
- ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม
- หน่วยงานทดสอบความปลอดภัยของเครื่องสำอาง
ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้บริการสกัดน้ำมันหอมระเหยด้วยตัวทำละลายอินทรีย์และการทดสอบค่าคุณภาพ
มีประโยชน์มากมายที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบค่าคุณภาพน้ำมันหอมระเหย สามารถอธิบายได้หลายประการดังนี้:
- การวิจัยและผลลัพธ์ที่พิสูจน์แล้วช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับผลิตภัณฑ์
- ผลการทดสอบสามารถนำไปใช้ในแคมเปญเพื่อการตลาดได้
- ผลการวิจัยที่พิสูจน์แล้วและผลลัพธ์ที่ได้รับการยืนยันจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าในการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์
- เจ้าของธุรกิจจะสามารถป้องกันตนเองจากการลงทุนครั้งใหญ่ทั้งในด้านเวลาและเงินหากผลิตภัณฑ์หรือส่วนผสมไม่ได้ผลตามที่คาดไว้ ลูกค้าคาดหวัง
- รายงานการวิเคราะห์ประสิทธิภาพและแนวทางการใช้งานของผลิตภัณฑ์และส่วนผสม
Reference