สารสกัดมะขามป้อม (Indian gooseberry Extract)

อุดมด้วยวิตามินซี บำรุงผิวขาวกระจ่างใส ลดเลือนริ้วรอย
มะขามป้อม (Indian gooseberry) หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ Phyllanthus emblica L. อยู่ในวงศ์ Euphorbiaceae เป็นพืชที่อยู่ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย ลาว พม่า กัมพูชา ในประเทศไทยพบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ผลมะขามป้อม มีรสฝาด เปรี้ยว ขม อมหวาน โดยให้ผลประมาณเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ตามตำรับยาของอินเดียหรือยาอายุรเวทถือว่าเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงสายตา บำรุงสมอง รักษาโรคท้องผูกหรือใช้เป็นยาถ่าย

องค์ประกอบทางเคมีของมะขามป้อม

ผลมะขามป้อมมีองค์ประกอบทางเคมี ได้แก่ วิตามินซี, Albumin, Emblicanin A, Emblicanin B, Punigluconin, Pedunculagin, Glutamic acid, Proline, Aspartic acid และ Lysine โดยผลมะขามป้อมมีปริมาณวิตามินซีมากกว่าส้มและมะเขีอเทศ มีฤทธิ์ในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidation) สารต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory) เพิ่มระดับภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Immunomodulatory) ปกป้องเยื่อบุทางเดินอาหาร (Cytoprotective) ต้านมะเร็ง (Anti-cancer) มีความสามารถในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (Anti-microbial) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและเชื้อราบางชนิด
มะขามป้อม
มะขามป้อม

สารสกัดจากผลมะขามป้อมในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง (Cosmetic Industrial)

Gallic acid และ Vitamin C ที่เป็นองค์ประกอบในมะขามป้อมเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้มะขามป้อมมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีมาก ช่วยในการยับยั้ง IL-6 และ TNF ที่เป็นสารสื่อสำคัญในกระบวนการการอักเสบ ทำให้มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ (Inflammatory activity) เพิ่มความกระจ่างใส (Whitening) โดยสามารถใช้ทดแทนอย่าง Hydroquinone ได้ มีส่วนช่วยในการลดเลือนริ้วรอย (Anti-wrinkle) ช่วยยับยั้งเอมไซม์ Collagenase Hyaluronidase และ Matrix metalloproteinase-1 (MMP-1) ในชั้นผิวหนัง ส่งเสริมการสร้างคอลลาเจน ทำให้ชั้นผิวยังคงความยืดหยุ่นได้ดี ป้องกันความชราของผิวอันเนื่องมาจากแสง UV (Photo-aging) อีกทั้งผลของมะขามป้อมยังช่วยยับยั้ง 5 alpha- reductase ทำให้เส้นผมเจริญเติบโต (Hair growth) ได้ดี และช่วยในการป้องกันการเกิดรังแคบนหนังศรีษะ และเมื่อใช้ร่วมกับน้ำมันมะพร้าวพบว่าช่วยยับยั้งผมหงอกก่อนวัยได้อีกด้วย

สารสกัดจากผลมะขามป้อมในอุตสาหกรรมอาหารเสริม (Supplement Industrial)

สารสกัดในมะขามป้อมช่วยลด oxidative stress ในร่างกาย ต้านการอักเสบ และไขมันในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2 ดีขึ้น ช่วยปกป้องตับจากสารพิษ (Hepatoprotective effect) ช่วยเพิ่มปริมาณเอมไซม์ Hepatic HMG-CoA reductase ทำให้เกิดการแตกตัวของ Cholesterol เมื่อผลมะขามป้อมอยู่ในสูตรสมุนไพรตรีผลา (Triphala) พบว่ามีส่วนช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือดคล้ายคลึงกับยา Glibenclamide และสามารถลดความเจ็บปวดอันเนื่องมาจากเส้นประสาทถูกทำลาย (Neuropathic pain) เนื่องผลของมะขามป้อมสามารถต้านการเกิดอนุมูลอิสสระและสามารถยับยั้ง alpha-amylase และ glucosidase ได้ ช่วยในการลดไข้ (Anti-pyretic effect) บรรเทาอาการไอ (Anti-tussive effect) ชุ่มชื่นคอ วิตามินซีในมะขาวป้อมช่วยในการขยายหลอดเลือดทำให้ความดันโลหิตลดลง (Lowering blood pressure)

คุณสมบัติของสารสกัดมะขามป้อม

Brithening

Brightening

แก้ปัญหาความหมองคล้ำปรับสีให้ผิวขาวใส เรียบเนียบ สม่ำเสมอ
Anti-aging

Anti-wrinkle

แก้ปัญหาริ้วรอย เหี่ยวย่น
Hair-growth

Hair growth

บำรุงเส้นผมให้แข็งแรง ยาวเร็ว
hair-dandruff

Anti-dandruff

แก้ปัญหาการเกิดรังแคบนหนังศรีษะ

การพัฒนาต่อยอดงานวิจัยของสารสกัดจากผลมะขามป้อม

สารสกัดจากผลมะขามป้อมสามารถนำมาต่อยอดงานวิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตสารสกัด การทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัด และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการกักเก็บสารออกฤทธิ์กับผลิตภัณฑ์ได้ โดยปัจจุบันบริษัท TIBD ได้มีความร่วมมือกับสถาบันวิจัยต่างๆ ชั้นนำ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น และประเทศบราซิล ในการพัฒนางานวิจัยและสารสกัดจากธรรมชาติ ทั้งนี้หากท่านมีความสนใจร่วมลงทุน ในรูปแบบการพัฒนางานวิจัย พัฒนาสิทธิบัตรทางการค้า หรือต่อยอดผลิตสูตรผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของท่าน สามารถติดต่อทางบริษัทได้ทุกช่องทาง
Reference

Lanka, Suseela. “A review on pharmacological, medicinal and ethnobotanical important plant: Phyllanthus emblica linn.(syn. Emblica officinalis).” World Journal of Pharmaceutical Research 7.04 (2018): 380-396.

Ahmad, Bashir, et al. “Phyllanthus emblica: A comprehensive review of its therapeutic benefits.” South African Journal of Botany 138 (2021): 278-310.

Hasan, Md Rubaiyat, Md Nasirul Islam, and Md Rokibul Islam. “Phytochemistry, pharmacological activities and traditional uses of Emblica officinalis: A review.” International Current Pharmaceutical Journal 5.2 (2016): 14-21.

Yadav, Suraj Singh, et al. “Traditional knowledge to clinical trials: A review on therapeutic actions of Emblica officinalis.” Biomedicine & Pharmacotherapy 93 (2017): 1292-1302.

สอบถามเกี่ยวกับสารสกัดมะขามป้อม (Indian gooseberry Extract)

กรอกข้อมูลของคุณในแบบสอบถามด้านล่างเพื่อติดต่อเรา ทางเราจะตอบกลับให้เร็วที่สุด