เทียนดำ (Black cumin)

เป็นเกราะป้องกันผิวจากเชื้อแบคทีเรีย และมีส่วนช่วยบรรเทาอาการเกี่ยวกับสมอง
เทียนดำ หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ Nigella sativa L. อยู่ในวงศ์ Ranunculaceae เมล็ดมีลักษณะผิวนอกขรุขระ สีดำสนิท แข็ง มีกลิ่นเล็กน้อย มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย พบมากในประเทศแถบตะวันออกกลาง และตอนใต้ของยุโรป  ในตำรับยาไทยโบราณมีการใช้เมล็ดเทียนดำในตำรับพิกัดตรีรัตตะกุลา เพื่อบำรุงธาตุไฟ ขับลมในลำไส้ หรือตามองค์ความรู้ดั้งเดิมในประกาศของคณะกรรมการยาแห่งชาติ ได้มีการใช้เมล็ดเทียนดำในตำรับยาหอมเทพจิตร ยาหอมนวโกฏ ยาประสะกานพลู ยาธาตุบรรจบ หรือยาประสะไพล มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน อาเจียน  จุกเสียด แน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย รักษาอาการไม่สบายท้อง บรรเทาอาการปวดประจำเดือน

องค์ประกอบทางเคมีของเทียนดำ

ในเมล็ดเทียนดำจะมีองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันระเหย เช่น กรดไขมัน Linoleic acid, Oleic acid, Palmitic acid น้ำมันระเหยง่าย เช่น Thymoquinone, Thymol, Limonene, p-cymene, 4-terpineol, Terpene, Terpenoid สารอัลคาลอยด์ เช่น Nigellidine, Nigellimine, Sterol และสารซาโปนิน เช่น Alpha-hederin, Kaempferol, Quercitrin และ Apigenin และ วิตามิน เช่น วิตามินเอ วิตามินอี, วิตามินซี, Folic acid, Riboflavin และ Niacin จึงมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidation) ต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory) ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (Anti-bacterial) เชื้อรา (Anti-fungal) และเชื้อไวรัส (Antiviral) ใช้บรรเทาฝีหนอง (Abscess) การอักเสบของผิวหนัง (Eczema) มีฤทธิ์ในการช่วยลดความดันโลหิต (Anti-hypertensive) อาการหอบหืด (Anti-asthmatic) โรคเบาหวาน (Diabetic activity) และหลอดเลือด (Cardiovascular activity) และมีฤทธิ์ในการช่วยป้องกันตับ (Hepatoprotective effect) และถ่ายพยาธิ (Anti-parasitic)
Black-cumin
เทียนดำ-(Blabk-cumin)

การประยุกต์ใช้เทียนดำในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง (Cosmetic Industrial)

นอกจากจะสามารถต้านอนุมูลอิสระแล้ว เทียนดำยังสามารถยับยั้ง Cytokines เช่น IL-2, IL-4, IL-6 และ IL-10 ที่เป็นสารตั้งต้นที่ก่อให้เกิดกระบวนการอักเสบ (Anti-inflammatory) มีส่วนช่วยในการรักษาการบาดแผล (Would Healing) สามารถยับยั้งแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิว (Acne Vulgaris) ส่งเสริมการสร้างคอลลาเจนใต้ชั้นผิวให้เป็นเกราะป้องกันผิว (Skin barrier)

การประยุกต์ใช้เทียนดำในอุตสาหกรรมอาหารเสริม (Supplement Industrial)

เทียนดำถูกนำมาใช้เป็นตัวเลือกในการบรรเทาหรือช่วยป้องกันอาการที่เกี่ยวกับสมอง(Neurological Disorders) เช่น โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease), โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) โรคซึมเศร้า (Depression) และลดอาการวิตกกังวล บำรุงสมอง ตับ ระบบย่อยอาหาร หัวใจและหลอดเลือด ที่เกี่ยวกับการต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidation) การต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory) เพิ่มระดับภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Immunomodulatory) ในงานวิจัยพบว่ามีความสามารถในการช่วยในการยับยั้งเซลล์มะเร็ง (Anti-cancer) เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ และกระเพาะปัสสาวะ ป้องกันโรคป้องกันโรคเบาหวาน (Anti-obesity) ลดไขมันในเส้นเลือด (Anti-dyslipidemic) ช่วยรักษาสมดุลของฮอร์โมนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ช่วยเพิ่มความหน่าแน่นของเซลล์กระดูก (Bone Regenerative) ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด

คุณสมบัติของเทียนดำ

Anti-inflammatory ในสารสกัดใบบัวบก

Anti-inflammatory

บรรเทาอาการปวด ต้านอาการอักเสบ
protect-skin

Skin barrier

เสริมสร้างเกราะป้องกันผิวให้แข็งแรง จากแบคทีเรียและสิ่งสกปรก
Anti-inflammatory ในสารสกัดใบบัวบก

Immunity

เสริมสร้างภุมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
Anti-Alzheimer

Anti-Alzheimer

เสริมสร้างความจำ บำรุงสมอง ป้องกันอัลไซเมอร์

การพัฒนาต่อยอดงานวิจัยเทียนดำ

เทียนดำสามารถพัฒนาต่อยอดในรูปแบบต่างๆ เช่น การพัฒนาแหล่งที่มาของวัตถุดิบ กระบวนการสกัดสารสำคัญ หรือกระบวนการพัฒนา Emulsion หรือ Encapsulation เพื่อเพิ่มความคงตัวของสารสกัด และการนำส่งไปยังอวัยวะเป้าหมาย โดยปัจจุบันบริษัท TIBD ได้มีความร่วมมือกับสถาบันวิจัยต่างๆ ชั้นนำ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น และประเทศบราซิล ในการพัฒนางานวิจัยและสารสกัดจากธรรมชาติ ทั้งนี้หากท่านมีความสนใจร่วมลงทุน ในรูปแบบการพัฒนางานวิจัย พัฒนาสิทธิบัตรทางการค้า หรือต่อยอดผลิตสูตรผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของท่าน สามารถติดต่อทางบริษัทได้ทุกช่องทาง
Reference

Hannan, Md, et al. “Black Cumin (Nigella sativa L.): A Comprehensive Review on Phytochemistry, Health Benefits, Molecular Pharmacology, and Safety.” Nutrients 13.6 (2021): 1784.

Mariod, Abdalbasit Adam, et al. “Antioxidant activity and phenolic content of phenolic rich fractions obtained from black cumin (Nigella sativa) seedcake.” Food Chemistry 116.1 (2009): 306-312.

Datta, Animesh K., et al. “Black cumin (Nigella sativa L.)–a review.” Journal of plant development sciences 4.1 (2012): 1-43.

Oskouei, Zahra, Maryam Akaberi, and Hossein Hosseinzadeh. “A glance at black cumin (Nigella sativa) and its active constituent, thymoquinone, in ischemia: a review.” Iranian journal of basic medical sciences 21.12 (2018): 1200.

สอบถามเกี่ยวกับเทียนดำ (Black Cumin)

กรอกข้อมูลของคุณในแบบสอบถามด้านล่างเพื่อติดต่อเรา ทางเราจะตอบกลับให้เร็วที่สุด