สารสกัดมะขาม (Tamarind Extract)

มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ช่วยในเรื่องของการสมานบาดแผล
 มะขาม (Tamarind) หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ Tamarindus indica L. จัดอยู่ในวงศ์ Fabaceae มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา แล้วจึงมีการกระจายพันธุ์ในแถบเอเชียและละตินอเมริกา มะขามในประเทศไทยมีประวัติตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหง และเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ในตำรับสมุนไพรไทย ใบมะขามแก่มีสรรพคุณแก้ไอ แก้บิด ขับเลือด เนื้อในฝักมีสรรพคุณกัดขับเสมหะ แก้ท้องผูก เปลือกฝักมะขามมีสรรพคุณเป็นยาคุมธาตุ สมานแผน เมล็กสรรพคุณ ขับพยาธิ บำรุงไขข้อ แก้อาการท้องร่วง และเปลือกต้นสรรพคุณรักษาอาการเหงือกบวม และบรรเทาแผลเรื้อรั้ง

องค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดจากมะขาม

พบองค์ประกอบทางเคมีของมะขามในส่วนต่างๆ เช่น ในเนื้อมะขามจะมีองค์ประกอบของ Tartaric acid, Acetic acid, Malic acid, Succinic acid, Amino acid, Pyrazine, Thiazole และกรดไขมัน เช่น Palmitic acid, Oleic acid, Linoleic acid และ Eicosanoic acid ในใบมะขามมีองค์ประกอบของ Lupanone, Lupeol, Linonene ในเปลือกมะขามจะมีองค์ประกอบของ Apigenin, Catechin, Procyanidin B2, Taxifolin, Eriodictyol, Naringenin และในเมล็ดมะขามประกอบด้วย Amyrin, Compesterol, Sitosterol และ Procyanidins Procyanidin B2 epicatechin เป็นต้น สารสกัดจากมะขามพบว่ามีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อจุลชีพ (Antimicrobial) ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidation) ที่ดีเมื่อเทียบกับ Butylated hydroxyl anisole และ Ascorbic acid การต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory) มีฤทธิ์ในการต้านเบาหวาน (Antidiabetic activity) มีฤทธิ์ปกป้องตับจากสารพิษ (Hepatoprotective) มีส่วนช่วยในเรื่องหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular system) โดยช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) และ Triglyceride และเพิ่มปริมาณ คลอเลสเตอรอลที่ดี (HDL) ทำให้สามารถช่วยในการควบคุมน้ำหนัก

การประยุกต์ใช้สารสกัดจากมะขามในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง (Cosmetic Industries)

จากการวิจัยสารสกัดจากมะขามพบว่ามีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (Anti-bacterial) เช่น Burkholderia pseudomallei, Klebsiella pneumoniae, Salmonella paratyphi, Bacillus subtilis และ Staphylococcus aureus ยับยั้งเชื้อรา (Anti-fungal) เช่น Aspergillus Niger และ Candida albicans พบว่าสารสกัดจากเปลือกและใบของมะขามมีฤทธิ์ในการช่วยสมานแผล (Wound healing) มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory activity) โดยการยับยั้งการปลดปล่อย PG และ NO และมีผลในเรื่องการต้านอนุมูลอิสระ เนื่องจากมีองค์ประกอบของ Flavonoid, Anthocyanidin และ Proanthocyanin
Tamarind
Tamerind

การประยุกต์ใช้สารสกัดจากมะขามในอุตสาหกรรมอาหารเสริม (Supplement Industries)

สารสกัดจากมะขามมีคุณสมบัติเป็นยาระบายอ่อนๆ (Laxative properties) เนื่องจากมีปริมาณสาร Malic acid, Tartaric acid และ Potassium acid สูง มีฤทธิ์ในการต้านเบาหวาน (Antidiabetic activity) ในหนูในระดับปานกลางและระดับรุนแรง (Mild and severe diabetic) และผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) สามารถช่วยป้องกันหลอดเลือดแดงแข็งตัว (Antiatherosclerosis) ที่เกิดจากไขมันสะสม เพิ่มระดับภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Immunomodulatory) โดยการยับยั้ง Leukocyte migration และ Lymphocyte proliferation และเพิ่มกระบวนการ Phagocytosis

คุณสมบัติของสารสกัดจากมะขาม

สารสกัดใบบัวบกมีฤทธิ์ช่วยสมานแผล (Wound-healding)

Wound healing

มีฤทธิ์ช่วยในการสมานแผล
Anti-inflammatory ในสารสกัดใบบัวบก

Anti-inflammatory

บรรเทาอาการปวด ต้านอาการอักเสบ
Anti-diabetes

Anti-diabetes

ลดระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
Anti-inflammatory ในสารสกัดใบบัวบก

Immunity

เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย

การพัฒนาต่อยอดงานวิจัยสารสกัดจากมะขาม

ปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบสารสกัดจากมะขามและผลิตภัณฑ์จากมะขามเพื่อเพิ่มความคงตัวให้กับสารสกัด หรือการพัฒนาแหล่งที่มาของวัตถุดิบ กระบวนการในการสกัด ส่วนของมะขามที่ใช้ในการสกัด และกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความคงตัวและเพิ่มประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ให้กับสารสำคัญ โดยปัจจุบันบริษัท TIBD ได้มีความร่วมมือกับสถาบันวิจัยต่างๆ ชั้นนำ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น และประเทศบราซิล ในการพัฒนางานวิจัยและสารสกัดจากธรรมชาติ ทั้งนี้หากท่านมีความสนใจร่วมลงทุน ในรูปแบบการพัฒนางานวิจัย พัฒนาสิทธิบัตรทางการค้า หรือต่อยอดผลิตสูตรผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของท่าน สามารถติดต่อทางบริษัทได้ทุกช่องทาง
Reference

Bhadoriya, S. S., Ganeshpurkar, A., Narwaria, J., Rai, G., & Jain, A. P. (2011). Tamarindus indica: Extent of explored potential. Pharmacognosy reviews5(9), 73.

Ahmad, A., Ahmad, W., Zeenat, F., & Sajid, M. (2018). Therapeutic, phytochemistry and pharmacology of Tamarindus indica: A review. International Journal of Unani and Integrative Medicine2, 14-19.

Kuru, P. (2014). Tamarindus indica and its health related effects. Asian Pacific Journal of Tropical Biomedicine4(9), 676-681.

Zohrameena, S., Mujahid, M., Bagga, P., Khalid, M., Noorul, H., Nesar, A., & Saba, P. (2017). Medicinal uses & pharmacological activity of Tamarindus indica. World Journal of Pharmaceutical Sciences, 121-133.

สอบถามเกี่ยวกับสารสกัดมะขาม (Tamarind Extract)

กรอกข้อมูลของคุณในแบบสอบถามด้านล่างเพื่อติดต่อเรา ทางเราจะตอบกลับให้เร็วที่สุด