สารสกัดมะแขว่น (Mak Kuang Extract)

ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในปาก บรรเทาอาการอักเสบ ต่อต้านการเกิดสิว
มะแขว่น หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ Zanthoxylum rhetsa (Roxb.) DC., Z. limonella (Dennst.) Alston วงศ์ Rutaceae มีการกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดีย พม่า มาเลเชีย และประเทศแถบแอฟริกา ในประเทศไทยมะแขว่นเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดทางภาคเหนือ เช่น น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน นิยมนำมาประกอบอาหาร เพื่อลดกลิ่นคาว เพิ่มกลิ่นหอมและรสอาหารให้เผ็ดร้อน คล้ายกับหม่าล่าจากประเทศจีน ในตำราแพทย์ไทยโบราณใช้น้ำมันหอมระเหยจากผลมะแขว่นในการแก้ลมวิงเวียน บำรุงโลหิต ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ โรคหอบหืด บรรเทาอาการปวดฟัน และรักษาฟันผุ

องค์ประกอบทางเคมีของมะแขว่น

ในผลมะแขว่นมีองค์ประกอบทางเคมี ได้แก่ น้ำมันระเหยยาก (Fixed oil) น้ำมันหอมระเหย (Volatile oil) เช่น Limonene Alpha-phellandrene และ Trans-beta-ocimene นอกจากนี้ยังมี อัลคาลอยด์ ลิกแนน คูมาริน เทอร์พีน แทนนิน ฟลาโวนอยด์ ฟีโนลิก และไกลโคไซด์ ซึ่งมีฤทธิ์ในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidation) การต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory) การต้านเชื้อแบคทีเรีย (Anti-bacterial) การต้านเชื้อรา (Anti-fungal) ต้านมะเร็ง (Anti-cancer) และสามารถใช้ในฉีดพ่นเพื่อกันยุงได้ ปัจจุบันมีการส่งเสริมให้เกษตรกรในแถบภาคเหนือปลูกมะแขว่นสลับกับพืชสวนป่า เพื่อส่งเสริมพืชสมุนไพรหายากในชุมชน

สารสกัดจากมะแขว่นในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง (Cosmetic Industrial)

คุณสมบัติเด่นที่สำคัญคือการต้านออกซิเดชั่น และการต้านการอักเสบจึงมีส่วนช่วยในการสมานแผล ระงับการอักเสบบนผิวหนังและรักษาบาดแผลได้  นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานิน ปัจจุบันได้มีสิทธิบัตรเกี่ยวกับการใช้สารสกัดจากผลมะแขว่นร่วมกับสารสกัดมะขามป้อมในผลิตภัณฑ์เจลล้างทำความสะอาดผิวหน้า ในการต้านจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดสิวและต้านการอักเสบ หรือผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปากที่มีการใช้สารสกัดจากผลมะแขว่น เนื่องจากมีงานวิจัยว่าสารสกัดจากผลมะแขว่นสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในช่องปากได้
สารสกัดมะแขว่น
Mak-kuang

สารสกัดจากมะแขว่นในอุตสาหกรรมอาหารเสริม (Supplement Industrial)

จากผลการวิจัยพบว่าสารสกัดที่ได้จากผลของมะแขว่นจะพบสารลิกแนนที่มีฤทธิ์ในการต้านปฏิกิริยาออกซิเดชั่นต้านมะเร็ง และวัณโรค เช่นเดียวกับสารคูมารินที่มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดการแข็งตัวของเลือด และมีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือด บำรุงเลือด ลดความดันเลือด บรรเทาอาการปวด ยับยั้งภาวะกระดูกพรุน (Antiosteoporosis) ลดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemic) และมีสมบัติเป็นยาชา นอกจากนี้ยังช่วยให้เจริญอาหาร และย่อยอาหาร ปัจจุบันได้มีงานวิจัยยืนยันการใช้น้ำมันจากมะแขว่นในการบรรเทาอาการปวดเมื่อตามประกาศยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณของกระทรวงสาธารณสุข

คุณสมบัติของสารสกัดจากมะแขว่น

Brithening

Brightening

แก้ปัญหาความหมองคล้ำปรับสีให้ผิวขาวใส เรียบเนียบ สม่ำเสมอ
Anti-inflammatory ในสารสกัดใบบัวบก

Anti-inflammatory

บรรเทาอาการปวด ต้านการอักเสบ
เบนโทไนท์ (Bentonite) - Anti-acne

Anti-acne

ลดการเกิดสิว
Anti-diabetes

Anti-diabete

ลดระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

 

การพัฒนาต่อยอดงานวิจัยของสารสกัดจากมะแขว่น

สารสกัดจากมะแขว่นสามารถนำมาต่อยอดงานวิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตสารสกัด การทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัด และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการกักเก็บสารออกฤทธิ์กับผลิตภัณฑ์ได้ โดยปัจจุบันบริษัท TIBD ได้มีความร่วมมือกับสถาบันวิจัยต่างๆ ชั้นนำ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น และประเทศบราซิล ในการพัฒนางานวิจัยและสารสกัดจากธรรมชาติ ทั้งนี้หากท่านมีความสนใจร่วมลงทุน ในรูปแบบการพัฒนางานวิจัย พัฒนาสิทธิบัตรทางการค้า หรือต่อยอดผลิตสูตรผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของท่าน สามารถติดต่อทางบริษัทได้ทุกช่องทาง
Reference

พิชิต สุด ตา. “การ ใช้ ประโยชน์ ทาง ยา พื้นบ้าน สาร พฤกษ เคมี และ ฤทธิ์ ทาง ชีวภาพ ของ มะข่วง.” วารสาร วิทยาศาสตร์ บูรพา 20.1 (2015): 236-250.

Srisamatthakarn, P., P. Wattanawikkit, and S. Ammawath. “Effect of Explant and Extraction Conditions on the Physical-chemical and Antioxidant Properties of Mah-Khwuaen (Zanthoxylum limonella Alston) Extract.” Songklanakarin Journal of Plant Science 4.3 (2017): 75-81.

Imphat, Chureeporn, et al. “Proven Inhibitory Effect on Lipopolysaccharides-Induced Nitric Oxide Production of Zanthoxylum rhetsa under Accelerated Condition and Stability Affecting Factors.” Asian Medical Journal and Alternative Medicine 21.2 (2021): 134-144.
Wongkattiya, Nalin, et al. “Chemical compositions and biological properties of essential oils from Zanthoxylum rhetsa (Roxb.) DC and Zanthoxylum limonella Alston.” African Journal of Traditional, Complementary and Alternative Medicines 15.2 (2018): 12-18.

Soradech, Sitthiphong, et al. “STABILITY EVALUATION OF A HAIR TONIC CONSISTING OF A MIXED EXTRACT FROM FRUITS OF PHYLLANTHUS EMBLICA AND ZANTHOXYLUM LIMONELLA.” Thai J. Pharm. Sci 38 (2013).

Tangjitjaroenkun, Janpen, Roongtawan Supabphol, and Warinthorn Chavasiri. “Antioxidant effect of Zanthoxylum limonella Alston.” Journal of Medicinal Plants Research 6.8 (2012): 1407-1414.

สอบถามเกี่ยวกับสารสกัดมะแขว่น (Mak Kuang Extract)

กรอกข้อมูลของคุณในแบบสอบถามด้านล่างเพื่อติดต่อเรา ทางเราจะตอบกลับให้เร็วที่สุด