เคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoids)

สารสกัดจากขมิ้นชัน มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ช่วยบรรเทาอาการแพ้ อักเสบ ผื่นแดง และผื่นคัน
ขมิ้นชันเป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยรู้จักมานาน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Curcuma longa Linn. นิยมประทานในรูปแบบอาหาร หรือ ยาสมุนไพร พบได้ในประเทศแถบเอเชียใต้ เช่น อินเดีย เนปาล อินโดนีเชีย มาเลเชีย และไทย ขมิ้นชันสามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เช่น สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา พัทลุง กาญจนบุรี และนครราชสีมา เป็นพืชที่อยู่ในตระกูล Zingiberaceae เช่นเดียวกับวงศ์ขิงข่า ในสมัยก่อนนิยมนำมาทาแก้แมวงสัตว์กัดต่อย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ทาผิวเพื่อให้พิวเนียนนุ่ม หรือผสมให้อาหารให้สีสันสวยงาม โดยสารสำคัญในขมิ้นชัน คือ น้ำมันหอมระเหย (Essential oil) และสารเคอร์คิวมินอยด์ (Curcuminoids) ซึ่งกลุ่มสารเคอร์คิวมินอยด์ในขมิ้นชันมีอยู่ที่ปริมาณร้อยละ 3.81 – 15.32 สามารถแยกออกมาได้ 3 ชนิด ได้แก่ เคอร์คิวมิน (Curcumin) ที่ร้อยละ 76 ดีเมทอกซีเคอร์คิวมิน (Demethoxycurcumin) ที่ร้อยละ 16.2 และบิสดีเมทอกซีเคอร์คิวมิน (Bisdemethoxycurcumin) ที่ร้อยละ 3.8 ทำให้มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่หลากหลาย เช่น การต้านอนมูลอิสระ (Anti-oxidation) การต้านมะเร็ง (Anti-cancer) การต้านอักเสบ (Anti-inflammatory) การต้านเชื้อแบคทีเรีย (Anti-bacterial) และการต้านเชื้อไวรัส (Anti-viral) ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้ขมิ้นชันในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ในอาหาร อาหารเสริม ยาสมุนไพร และเครื่องสำอาง ขมิ้นชันส่วนใหญ่บริโภคในประเทศประมาณร้อยละ 98 และส่งออกประมาณร้อยละ 2 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ในรูปของการแปรรูปเป็นน้ำมันขมิ้นชัน

สารเคอร์คูมินอยด์จากขมิ้นชันในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง (Cosmetic Industrial)

สารเคอร์คูมินอยด์มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidation) การต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory activity) โดยสามารถลดอการอักเสบได้ดี อาการแพ้ ผื่นคัน ผื่นแดง ไม่ว่าจะเป็นการอักเสบเฉียบพลันหรือการอักเสบเรื้อรัง สามารถยับยั้งการสร้าง Leukotriene B4 ที่ก่อให้เกิดการอักเสบ และสามารถยับยั้ง ลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย (Anti-bacterial) ทั้งแกรมลบและแกรมบวกได้ดี ปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีการนำสารสกัดขมิ้นชันมาใช้เป็นองค์ประกอบหลักของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการชะลอวัยและต่อต้านริ้วรอย (Anti-aging and Anti-wrinkle)
สารสกัดขมิ้นชัน
สารสกัดขมิ้นชัน

สารเคอร์คูมินอยด์จากขมิ้นชันในอุตสาหกรรมอาหารเสริม (Supplement Industrial)

จากการศึกษาในงานวิจัยต่างๆ พบว่าสารเคอร์คูมินอยด์จากขมิ้นชันมีฤทธิ์ต้านมะเร็งทั้งใน invitro และ in vivo ทั้งมะเร็งที่ตับ ปวด กระเพาะอาหาร และปากมดลูก โดยไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อผู้ป่วย และมีฤทธิ์ในการป้องกันการเกิด Oxidative Stress ซึ่งจะช่วยในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant activity) จะก่อให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกันต่างๆ สามารถรักษาอาการท้องอืด โรคผิวหนังพุพอง โรคกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย ซึ่งปัจจุบันมีการระบุขมิ้นชันในบัญชียาหลักแห่งชาติโดยคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา

คุณสมบัติของสารสกัดจากขมิ้นชัน

Anti-wrinkle ในสารสกัดใบบัวบก

Anti-aging

ฟื้นฟูสุขภาพผิว ลดริ้วรอย ชะลอผิวให้ดูอ่อนวัย
Anti-aging

Anti-wrinkle

แก้ปัญหาริ้วรอย เหี่ยวย่น
Flatulence

Flatulence

แก้ปัญหาท้องอืด ท้องเฟ้อ
Anti-inflammatory ในสารสกัดใบบัวบก

Anti-inflammatory

บรรเทาอาการปวด ต้านอาการอักเสบ
Anti-Alzheimer

Anti-Alzheimer

เสริมสร้างความจำ บำรุงสมอง ป้องกันอัลไซเมอร์

การพัฒนาต่อยอดงานวิจัยสารเคอร์คูมินอยด์จากขมิ้นชัน

สารเคอร์คูมินอยด์จากขมิ้นสันสามารถนำมาต่อยอดงานวิจัยเพื่อเพิ่มความคงตัวให้แก่สารสำคัญ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการกักเก็บสารออกฤทธิ์กับผลิตภัณฑ์ได้ โดยปัจจุบันบริษัท TIBD ได้มีความร่วมมือกับสถาบันวิจัยต่างๆ ชั้นนำ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น และประเทศบราซิล ในการพัฒนางานวิจัยและสารสกัดจากธรรมชาติ ทั้งนี้หากท่านมีความสนใจร่วมลงทุน ในรูปแบบการพัฒนางานวิจัย พัฒนาสิทธิบัตรทางการค้า หรือต่อยอดผลิตสูตรผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของท่าน สามารถติดต่อทางบริษัทได้ทุกช่องทาง
Reference

Araujo, C. A. C., and L. L. Leon. “Biological activities of Curcuma longa L.” Memórias do Instituto Oswaldo Cruz 96 (2001): 723-728.

Niranjan, Abhishek, and Dhan Prakash. “Chemical constituents and biological activities of turmeric (Curcuma longa L.)-A review.” Journal of food Science and technology 45.2 (2008): 109.

Verma, Rahul Kumar, et al. “Medicinal properties of turmeric (Curcuma longa L.): A review.” Int. J. Chem. Stud 6.4 (2018): 1354-1357.

Amalraj, Augustine, et al. “Biological activities of curcuminoids, other biomolecules from turmeric and their derivatives–A review.” Journal of traditional and complementary medicine 7.2 (2017): 205-233.

การพัฒนาต่อยอดงานวิจัยสารเคอร์คูมินอยด์จากขมิ้นชัน

สารเคอร์คูมินอยด์จากขมิ้นสันสามารถนำมาต่อยอดงานวิจัยเพื่อเพิ่มความคงตัวให้แก่สารสำคัญ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการกักเก็บสารออกฤทธิ์กับผลิตภัณฑ์ได้ โดยปัจจุบันบริษัท TIBD ได้มีความร่วมมือกับสถาบันวิจัยต่างๆ ชั้นนำ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น และประเทศบราซิล ในการพัฒนางานวิจัยและสารสกัดจากธรรมชาติ ทั้งนี้หากท่านมีความสนใจร่วมลงทุน ในรูปแบบการพัฒนางานวิจัย พัฒนาสิทธิบัตรทางการค้า หรือต่อยอดผลิตสูตรผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของท่าน สามารถติดต่อทางบริษัทได้ทุกช่องทาง
Reference

Araujo, C. A. C., and L. L. Leon. “Biological activities of Curcuma longa L.” Memórias do Instituto Oswaldo Cruz 96 (2001): 723-728.

Niranjan, Abhishek, and Dhan Prakash. “Chemical constituents and biological activities of turmeric (Curcuma longa L.)-A review.” Journal of food Science and technology 45.2 (2008): 109.

Verma, Rahul Kumar, et al. “Medicinal properties of turmeric (Curcuma longa L.): A review.” Int. J. Chem. Stud 6.4 (2018): 1354-1357.

Amalraj, Augustine, et al. “Biological activities of curcuminoids, other biomolecules from turmeric and their derivatives–A review.” Journal of traditional and complementary medicine 7.2 (2017): 205-233.

สอบถามเกี่ยวกับสารสกัดเคอร์คูมินอยด์จากขมิ้นชัน (Curcumin Extract)

กรอกข้อมูลของคุณในแบบสอบถามด้านล่างเพื่อติดต่อเรา ทางเราจะตอบกลับให้เร็วที่สุด