สารสกัดใบบัวบก (Centella asiatica Extract)

บรรเทาอาการคันจากเชื้อรา ลดการระคายเคือง ปกป้องผิวไม่ให้โดนทำร้ายจากมลภาวะ
บัวบก หรือชื่อเรียกในท้องถิ่นว่าผักแว่น มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ Centella asiatica (Linn) อยู่ในวงศ์ Umbelliferae (Apiaceae) เป็นพืชท้องถิ่นในทวีปแอฟริกา ต่อมาถูกนำมาปลูกแพร่หลายทั่วโลก ในประเทศไทยสามารถพบใบบัวบกได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ซึ่งนำมาใช้ในการประกอบอาหารและเป็นสมุนไพรในหลายตำรับด้วยกัน เช่นในตำรับแพทย์ล้านนา ใช้ในการบรรเทาอาการลมแดด ปวดหัวข้างเดียว ตะคริว บรรเทาอาการปวดข้อหรือฟัน กระตุ้นการขับถ่าย และบรรเทาอาการท้องอืด ส่วนในตำรับแพทย์จีนใช้ในการรักษาแผล ขับปัสสาวะ แก้พิษ บรรเทาอาการบวม หรืออาการไข้หวัดใหญ่

องค์ประกอบทางเคมีของใบบัวบก

ในใบบัวบกมีองค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญ ได้แก่ Asiatic acid, Asiaticoside, Madecassic acid, Madecaassoside, Dlutamic acid, Alanine, Lysine Triterpene และ P-cymene (ในน้ำมันหอมระเหยจากบัวบก) จึงมีประสิทธิภาพสูงในการต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory) ฤทธิ์ในการสมานแผล (Wound healing) ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและแกรมลบ เช่น Staphylococcus aureus, Pseudomonas aeruginosa และ Escherichia coli ยับยั้งเชื้อรา เช่น Aspergillus niger, Penicillium citrinum, Trichophyton mentagrophytes และ T.rubrum ช่วยยับยั้งอาการคัน การติดเชื้อ ลดความดันโลหิต มีฤทธิ์ลดไข้ บรรเทาปวด รักษาแผลในกระเพาะอาหาร มีฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็ง เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม และมะเร็งผิวหนัง ปกป้องระบบประสาท (Neuroprotective activity) เช่น โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s) โรคพาร์กิสัน (Parkinson’s disease) และลด Oxidative stress

สารสกัดใบบัวบก (Centella asiatica) ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง

องค์ประกอบทางเคมีในใบบัวบกประกอบด้วย  Asiatic acid, Asiaticoside, Madecassic acid และ Madecaassoside หรือที่ในทางอุตสาหกรรมเครื่องสำอางเรียกว่า Cica ในผลิตภัณฑ์ที่มีสารดังกล่าว ซึ่งจะมีประสิทธิภาพในการต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory) ลดอาการระคายเคือง (Skin irritation) และการรักษาบาดแผล (Wound Healing) อย่างมาก นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์เพื่อใช้หลังงการทำหัตถการ ส่งเสริมการสังเคราะห์คอลลาเจนและอีลาสตินใต้ผิวหนัง เพิ่มความชุ่มชื้น ปลอบประโลมผิว (Nourishment) ช่วยรักษาสิว (Anti-acne) และปกป้องผิวจากมลภาวะ
สารสกัดใบบัวบก (Centella asiatica)
สารสกัดใบบัวบก

สารสกัดใบบัวบก (Centella asiatica) ในอุตสาหกรรมอาหารเสริม

สารสกัดใบบัวบกสามารถปกป้องสารสื่อประสาททำให้ช่วยบำรุงสมอง บรรเทาอาการซึมเศร้า (Antidepressant) ฟื้นฟูการเรียนรู้และความจำ ช่วยในการทำงานของสมอง (Cognitive Function) ช่วยผ่อนคลาย มีความสามารถเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี (Antioxidation) ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ฟื้นฟูบาดแผลทำให้บาดแผลดีขึ้น (Antiulcer activity) ช่วยบำรุงหัวใจ บรรเทาอาการปวด ต้านการเสื่อมของเซลล์ต่างๆ เพิ่มระดับภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Immunomodulatory effect) และมีส่วนช่วยในการยับยั้งเซลล์มะเร็ง

คุณสมบัติของสารสกัดใบบัวบก (Centella asiatica)

Anti-inflammatory ในสารสกัดใบบัวบก

Anti-inflammatory

บรรเทาอาการปวด ต้านอาการอักเสบ
Anti-wrinkle ในสารสกัดใบบัวบก

Anti-aging

ฟื้นฟูสุขภาพผิว ลดริ้วรอย ชะลอผิวให้ดูอ่อนวัย
Anti-inflammatory ในสารสกัดใบบัวบก

Immunity

เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
สารสกัดใบบัวบกมีฤทธิ์ช่วยสมานแผล (Wound-healding)

Wound healing

มีฤทธิ์ช่วยในการสมานแผล

การพัฒนาต่อยอดงานวิจัยของสารสกัดจากใบบัวบก

สารสกัดจากใบบัวบกสามารถนำมาต่อยอดงานวิจัยเพื่อวิเคราะห์องค์ประทางเคมีในส่วนต่าง ๆ ของใบบัวบกในแต่ละพื้นที่ การทำให้สารสกัดมีความบริสุทธิ์ การทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัด การพัฒนารูปแบบของการนำสารสกัดไปใช้ และประยุกต์ใช้รูปแบบเทคโนโลยีในการกักเก็บสารออกฤทธิ์กับผลิตภัณฑ์ได้ โดยปัจจุบันบริษัท TIBD ได้มีความร่วมมือกับสถาบันวิจัยต่างๆ ชั้นนำ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น และประเทศบราซิล ในการพัฒนางานวิจัยและสารสกัดจากธรรมชาติ ทั้งนี้หากท่านมีความสนใจร่วมลงทุน ในรูปแบบการพัฒนางานวิจัย พัฒนาสิทธิบัตรทางการค้า หรือต่อยอดผลิตสูตรผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของท่าน สามารถติดต่อทางบริษัทได้ที่ คลิก
Reference

Prakash, Ved, N. I. S. H. I. T. A. Jaiswal, and M. R. I. N. A. L. Srivastava. “A review on medicinal properties of Centella asiatica.” Asian J Pharm Clin Res 10.10 (2017): 69.

Zahara, Kulsoom, Yamin Bibi, and Shaista Tabassum. “Clinical and therapeutic benefits of Centella asiatica.” Pure and Applied Biology 3.4 (2014): 152.

Seevaratnam, Vasantharuba, et al. “Functional properties of Centella asiatica (L.): a review.” Int J Pharm Pharm Sci 4.5 (2012): 8-14.

Gohil, Kashmira J., Jagruti A. Patel, and Anuradha K. Gajjar. “Pharmacological review on Centella asiatica: a potential herbal cure-all.” Indian journal of pharmaceutical sciences 72.5 (2010): 546.

สอบถามเกี่ยวกับCentella asiatica สารสกัดจากใบบัวบก

กรอกข้อมูลของคุณในแบบสอบถามด้านล่างเพื่อติดต่อเรา ทางเราจะตอบกลับให้เร็วที่สุด