เทคนิคการปลอมแปลงเลข อย. ผิดกฎหมาย ที่ผู้บริโภคอาจเป็น’เหยื่อ’ I QBP Podcast Ep.10

    • 14 มี.ค. 2023

    ข่าวเกี่ยวกับวงการเครื่องสำอางที่เป็นประเด็นส่วนใหญ่จะมีข่าวของเลขอย.ปลอม ติดฉลากมั่ว ซึ่งหมายความว่าผลิตภัณฑ์ชิ้นที่นำออกมาขายนั้นไม่ได้ถูกผลิตมาจากโรงงานผลิตที่ได้มาตรฐาน ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและเป็นการหลอกลวงผู้บริโภค และยังมีความเสี่ยงที่ผลิตภัณฑ์นั้นยังอาจมีส่วนผสมของสารต้องห้ามที่เป็นอันตรายต่อการใช้งานอีกด้วย โดยการตรวจสอบกรณีเหล่านี้จะถูกดำเนินการโดยหน่วยงานอย. ใน Ep.10 นี้พี่พรจะมาเล่าถึงประสบการณ์ของการถูกตรวจรับรองและการเตรียมตัวรับมือกับการถูกกล่าวอ้างว่าเป็นผู้ผลิตเครื่องสำอาง

    ตรวจรับรองโรงงาน คุณไม่ใช่โรงงานที่ทำผิดกฎหมายใช่หรือไม่?

    โดยปกติแล้วสำหรับโรงงานที่มีการยื่นจดแจ้งและได้รับรองจากกอย. จะมีการตรวจรับรองโดยหน่วยงานอย.เอง อยู่ 2 แบบ คือ 1. การตรวจรับรองประจำปี เป็นการตรวจสอบว่าโรงงานผลิตที่มีอยู่นั้นยังมีการดำเนินนโยบาย การจัดการ และปฏิบัติตามมาตรฐานที่ถูกต้องอยู่หรือไม่ โดยก่อนเข้าไปตรวจสอบทางอย.จะทำการนัดหมายวันเวลาให้กับทางบริษัทที่จะถูกตรวจสอบให้ได้รับทราบไว้ และ 2. การตรวจแบบ Surprise Audit จะเป็นการตรวจสอบในกรณีพิเศษที่ทางเจ้าหน้าที่อย.จะไม่มีการแจ้งให้ทางบริษัทรับทราบก่อน แต่จะเป็นการเข้ามาขอตรวจสอบที่บริษัทแบบไม่ให้ตั้งตัว ในกรณีนี้ส่วนใหญ่ที่พบเจอก็จะเป็นการที่บริษัทถูกร้องเรียนและขอให้ทางอย.เข้ามาตรวจสบที่บริษัท ดังนั้น ในแต่ละองค์กรควรมีฝ่ายบริหารคุณภาพ เพื่อที่ทางนักบริหารคุณภาพจะเป็นผู้เตรียมการรับมือและตอบคำถามแก่เจ้าหน้าที่อย. เนื่องจากเป็นฝ่ายที่ต้องรู้ครอบคลุมทุกการทำงานในองค์กร สำหรับองค์กรไหนที่ไม่มีนักบริหารคุณภาพผู้บริหารจะต้องเปนฝ่ายที่ออกมารับมือกับการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่เอง

    QBP Podcast

    HOST

    สุริยาภรณ์ ฉันทกุล

    นักบริหารคุณภาพ

    ผู้เชี่ยวชาญระบบมตรฐาน ISO

    วุฒิพงษ์ ผาณิตเศรษฐกร

    ผู้ร่วมก่อตั้ง TIBD

    ที่ปรึกษาธุรกิจ

    สามารถติดตามช่องทางอื่น ๆ ได้ที่