เลิกเรียน ISO แบบนี้ ในมหาลัย’ ได้แล้ว!! | QBP Podcast Ep.1

  • 29 มี.ค. 2022

สถานการณ์ว่างงานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นทุกปี ดังนั้น อัตราการแข่งขันในการหางานทำจึงมีอัตราที่สูงมาก เหล่าเด็กจบใหม่ หรือนักศึกษามหาวิทยาลัยที่กำลังจะจบการศึกษา ต่างก็มีความกังวลว่าจะหางานทำในตำแหน่งงานที่ต้องการได้หรือไม่

คุณวุฒิพงษ์ ผาณิตเศรษฐกร หรือ  “พี่วุฒิ”  ได้มีโอกาสเป็นอาจารย์รับเชิญเพื่อสอนในบางคลาสให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยหลายที่ จึงได้เห็นถึงความกังวลของนักศึกษาที่กำลังจะเรียนจบแล้วต้องเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมการทำงาน โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 หลายๆ บริษัทต่างก็มีนโยบายที่จะรับพนักงานน้อยลง ปรับรูปแบบการทำงานให้เป็น Work from Home มากขึ้น ดังนั้น อัตราการแข่งขันในการหางานจึงยิ่งสูงขึ้นมากกว่าเดิม ใน Episode นี้พี่พรกับพี่วุฒิจึงได้มาพูดถึงหลักสูตรการสอน ISO สำหรับนักศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นนักบริหารคุณภาพ

งานเอกสารจุดเริ่มต้นของความก้าวหน้าในสายงานบริหารคุณภาพ

พี่พรได้เล่าว่า ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในสายงานนักบริหารคุณภาพมาก่อนหรือเป็นนศ.จบใหม่ ส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มจากตำแหน่งเจ้าหน้าที่ควบคุมเอกสาร (DCC -Document Control) เป็นตำแหน่งผู้ช่วยของ QMR (Assistant QMR) โดยจะเรียนจบมาจากสาขาไหนก็สามารถเริ่มงานในสายงานคุณภาพได้ ซึ่งจะต้องรับผิดชอบในส่วนของการเขียนรายงานการประชุม สามารถติดต่อประสานงานจากหลายหน่วยงานเพื่อติดตามงานที่ได้รับมอบหมายได้ และด้วย DCC เป็นตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำเอกสารเป็นส่วนใหญ่จึงต้องมีทักษะการเขียนที่ดีควบคู่กันด้วย พี่วุฒิจึงเกิดคำถาม “ถ้าเป็นอย่างนี้คนที่เริ่มจากตำแหน่ง DCC กับผู้ที่เรียนสายวิทยาศาสตร์ เริ่มจาก QC QA จะมีโอกาสก้าวหน้าแตกต่างกันหรือไม่?”

ใครว่ามีประสบการณ์มาก่อนจะได้เปรียบมากกว่า

โอกาสของนักศึกษาจบใหม่ในสายงานนักบริหารคุณภาพทั้งจากฝั่ง DCC หรือจากฝั่งบริหารคุณภาพ QC QA นั้นมี เปอร์เซ็นต์ (%) ของความก้าวหน้าที่แตกต่างกัน เนื่องจากทาง QC QA ไม่จำเป็นต้องมาเป็น QMR อย่างเดียวอาจไปทำงานในตำแหน่งของผู้จัดการโรงงานก็ได้ แต่ถ้าเริ่มจากตำแหน่ง DCC จะถือว่าได้เข้ามาในสายงานบริหารคุณภาพโดยตรงเริ่มจากเป็นผู้ช่วยของ QMR เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่จะสามารถมองเห็นการทำงานทุกกระบวนของทุกแผนก ทุกๆ ฝ่าย มองเห็นกระบวนการทำงานทั้งภาพรวมขององค์กร จนเข้าใจทุกระบบในการทำงาน ซึ่งเป็นความสามารถพื้นฐานที่นักบริหารคุณภาพจำเป็นต้องมี

Case Study หลักสูตร ISO ที่เรียนรู้จากการได้ลองทำ

จากประสบการณ์ของพี่พร ที่ได้มีโอกาสรับน้องๆ นักศึกษาเด็กจบใหม่เข้ามาฝึกงาน จึงได้ทราบว่าหลักสูตรการสอนในบางมหาวิทยาลัยได้มีการใส่หลักสูตรการเรียน ISO ในคลาสเรียน ซึ่งเป็นโอกาสดีที่จะได้ปูพื้นฐานทำความเข้าใจในข้อกำหนดเพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงาน แต่พี่พรก็ได้พบกับปัญหาใหญ่ว่านักศึกษาจบใหม่ส่วนใหญ่นั้นรู้จัก ISO แต่ไม่สามารถนำข้อกำหนดมาประยุกต์ใช้กับงานได้ โดยรูปแบบการเรียนที่พี่พรเชื่อมั่นว่าจะช่วยให้ผู้ที่เรียนสามารถำไปประยุกต์ใช้และต่อยอดในสายงานบริหารคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น คือ การเรียนรู้จากประสบการณ์การใช้งานจริงจากข้อกำหนดนั้นๆ เพื่อให้หลักสูตรที่เรียนสามารถนำไปใช้ได้จริงจากการได้ลองปฏิบัติ ไม่ใช่แค่มาเรียนให้รู้จักข้อกำหนดแล้วจบไป มากกว่าทราบต้องเข้าใจและใช้เป็น เช่น การลองเขียนเอกสารในแต่ละข้อกำหนด, มองเห็นกระบวนการทำงานจากการเขียน Flow chart, การได้ไปเห็นสถานที่จริง จากการเยี่ยมชมบริษัทต่างๆที่มีการทำระบบในด้านบริหารคุณภาพ

บทบาทหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบในฐานะ QMR

ทุกๆ กระบวนการมีหลักการพื้นฐานที่คล้ายกันคือ Input > Process > Output ซึ่งกระบวนการยิบย่อยของโรงงานในแต่ละสายอุตสาหกรรมก็จะไม่มีเหมือนกัน เพียงแค่เข้าใจคอนเซ็ปท์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง QMR ต้องรอบรู้ในหลายด้าน ทั้งวิเคราะห์ปรับปรุงเปลื่อนแลปงหลายอย่างให้ดีขึ้น หากคุณต้องการที่จะพัฒนาตนเอง อัพเดตกฎหมายอุตสาหกรรมตลอดเวลา เนื่องจากกฎหมายมีการอัพเดตและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา QMR ที่ดีจึงต้องมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ ตื่นตัวตลอดเวลา เปิดมุมมองความคิดที่พร้อมจะรับข้อมูลจากหลายๆ ด้าน ด้วยตัวพี่พรเองนั้นปกติแล้วจะอ่านข่าว ติดตามสถานการณ์ต่างๆ ทำให้สามารถเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น และแก้ปัญหาได้ในทันที

อย่าหยุดที่จะเรียนรู้ เหตุการณ์รอบตัวเปลี่ยนแปลงไปเสมอซึ่งจะต้องตามให้ทัน เตรียมพร้อมรับมือกับเหตุกาณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นอยู่เสมอ เหตุการณ์รอบตัวคือบทเรียนทีจะสอนให้เราได้ฝึกพัฒนาตนเอง

QBP PODCAST

HOST

สุริยาภรณ์ ฉันทกุล

นักบริหารคุณภาพ

ผู้เชี่ยวชาญระบบมาตรฐาน ISO

วุฒิพงษ์ ผาณิตเศรษฐกร

ที่ปรึกษาธุรกิจ

ผู้ร่วมก่อตั้ง TIBD

สามารถติดตามช่องทางอื่น ๆ ได้ที่

TIBD YOUTUBE