สารสกัดเปลือกมังคุดกับน้ำมันผลกระบองเพชรในนาโนอิมัลชัน (Xanthone Prickly Pear Oil Nanoemulsion)

เสริมสร้างความยืดหยุ่น เพิ่มความชุ่มชื้น เป็นเกราะป้องกันผิว
กระบองเพชรทานผล (Prickly pear) หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ Opuntia ficus indica จัดอยู่ในวงศ์ Cactaceae พบในทะเลทรายหลายแหล่ง เช่น ยุโรป แอฟริกา อเมริกาใต้ โดยมีลักษณะคล้ายกับลูกแพร แต่มีรูปร่างลักษณะ ขนาด และสีที่หลากหลายขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และพื้นที่ในการปลูก ภายในมีเมล็ดแข็ง ซึ่งสามารถรับประทานได้ทั้งใบและผล โดยสามารถรับประทานสด น้ำจากผล และผ่านกระบวนการปรุงอาหาร ในสมัยก่อนนิยมนำมาใช้ในการรักษาอาการความดันโลหิตสูง เบาหวาน คอเลสเตอรอล และโรคอ้วน

องค์ประกอบทางเคมีของกระบองเพชรทานผล

องค์ประกอบทางเคมีของกระบองเพชรทานผล ได้แก่ สารประกอบ Phenolic, Flavonoids, Tannins, Tocopherol, Betaxanthin, Betacyanin, กรดไขมัน เช่น Linoleic acid, Myristic acid และ Palmitoleic acid โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมล็ดจะมีองค์ประกอบของกรดไขมันเป็นส่วนใหญ่ เช่น Linoleic acid, Oleic acid, Palmitic acid และ Stearic acid ทำให้มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidation) ปกป้องอันตรายจากรังสียูวี (Photoprotective agent) ต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory) ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (Anti-bacterial) ในทางด้านอาหารหรืออาหารเสริมมีการใช้กระบองเพชรทานผลในการรักษาโรคเบาหวานประเภท 2 โดยในนักสมุนไพรในอิตาลีมีการใช้เพื่อประสิทธิภาพในการลดน้ำตาลในเลือด ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL)
prickly-pear
xanthone

สารแซนโทนจากเปลือกมังคุด

สารแซนโทนจากเปลือกมังคุด เป็นสาระสำคัญที่ฤทธิ์สำคัญในนการต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidation) ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (Anti-bacterial) ที่อาจก่อให้เกิดสิว สามารถลดระดับปริมาณสาร Pro-inflammatory เช่น IL-1β และ TNF-α จึงมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory) สามารถยับยั้งปริมาณเอมไซม์ tyrosinase ในกระบวนการสร้างเม็ดสี เทคโนโลยีนาโนอิมัลชัน (Nanoemulsion) เป็นการพัฒนาเพื่อใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพระบบนำส่งสารสำคัญหรือยาเข้าสู่ร่างกาย (Drug delivery system) และเพิ่มความคงตัวหรือความเสถียร (Stability) ให้กับสารสำคัญ ปัจจุบันมีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ยา และหรืออาหาร

การประยุกต์ใช้สารสกัดเปลือกมังคุดร่วมกับน้ำมันกระบองเพชรทานผลในนาโนอิมัลชันในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง (Cosmetic Industries)

การนำเทคโนโลยีนาโนอิมัลชันในการกักเก็บสารแซนโทนและน้ำมันกระบอกเพชรทานผลจึงมีส่วนช่วยเสริมการออกฤทธิ์บริเวณผิวได้ดีขึ้น โดยน้ำมันกระบองเพชรทานผลที่อุดมไปด้วยกรดไขมันทำให้ช่วยในเรื่องของความชุ่มชื้นของผิว (Skin hydration) การเสริมเกราะป้องกันผิว (Skin barrier) เสริมสร้างความยืดยุ่น (Restoration of elasticity) ผสมผสานกับสารแซนโทนจากเปลือกมังคุด ที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidation) ต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory) เพิ่มความกระจ่างใส (Whitening agent) เสริมสร้างการสร้างคอลลาเจน ดังตารางที่ 1 และ 2
ตารางที่1
ตารางที่2

คุณสมบัติของสารสกัดเปลือกมังคุดกับน้ำมันผลกระบองเพชร

Anti-inflammatory ในสารสกัดใบบัวบก

Anti-inflammatory

บรรเทาอาการปวด ต้านอาการอักเสบ
protect-skin

Skin barrier

เสริมสร้างเกราะป้องกันผิวให้แข็งแรง จากแบคทีเรียและสิ่งสกปรก
Anti-wrinkle ในสารสกัดใบบัวบก

Anti-Aging

ฟื้นฟูสุขภาพผิว ลดริ้วรอย ชะลอผิวให้ดูอ่อนวัย
skin-elastic

Skin Elastic

แก้ปัญหาผิวหย่อนคล้อย คืนความยืดหยุ่นให้กับผิว

การพัฒนาต่อยอดงานวิจัยสารสกัดจากสารสกัดเปลือกมังคุดร่วมกับน้ำมันกระบองเพชรทานผลในนาโนอิมัลชัน

ปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบสารสกัด ระบบการนำส่งและผลิตภัณฑ์จากน้ำมันกระบองเพชรทานผลเพื่อเพิ่มความคงตัวให้กับสารสกัด หรือการพัฒนาแหล่งที่มาของวัตถุดิบ กระบวนการในการสกัด และกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความคงตัวและเพิ่มประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ให้กับสารสำคัญ โดยปัจจุบันบริษัท TIBD ได้มีความร่วมมือกับสถาบันวิจัยต่างๆ ชั้นนำ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น และประเทศบราซิล ในการพัฒนางานวิจัยและสารสกัดจากธรรมชาติ ทั้งนี้หากท่านมีความสนใจร่วมลงทุน ในรูปแบบการพัฒนางานวิจัย พัฒนาสิทธิบัตรทางการค้า หรือต่อยอดผลิตสูตรผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของท่าน สามารถติดต่อทางบริษัทได้ทุกช่องทาง
Reference

López, A. D. (1995). Use of the fruits and stems of the prickly pear cactus (Opuntia spp.) into human food. Food Science and Technology International1(2-3), 65-74.

Salim, N., Abdelwaheb, C., Rabah, C., & Ahcene, B. (2009). Chemical composition of Opuntia ficus-indica (L.) fruit. African Journal of Biotechnology8(8).

Butera, Daniela, et al. “Antioxidant activities of Sicilian prickly pear (Opuntia ficus indica) fruit extracts and reducing properties of its betalains: betanin and indicaxanthin.” Journal of agricultural and food chemistry 50.23 (2002): 6895-6901.

Retamal, N., Durán, J. M., & Fernández, J. (1987). Seasonal variations of chemical composition in prickly pear (Opuntia ficus‐indica (L.) miller). Journal of the Science of Food and Agriculture38(4), 303-311.

Hegwood, D. A. (1990). Human health discoveries with Opuntia sp.(prickly pear). HortScience, 25(12), 1515-1516.

Ennouri, M., Evelyne, B., Laurence, M., & Hamadi, A. (2005). Fatty acid composition and rheological behaviour of prickly pear seed oils. Food Chemistry93(3), 431-437.

Matthäus, B., & Özcan, M. M. (2011). Habitat effects on yield, fatty acid composition and tocopherol contents of prickly pear (Opuntia ficus-indica L.) seed oils. Scientia Horticulturae, 131, 95-98.

Regalado-Rentería, E., Aguirre-Rivera, J. R., González-Chávez, M. M., Sánchez-Sánchez, R., Martínez-Gutiérrez, F., & Juárez-Flores, B. I. (2020). Assessment of extraction methods and biological value of seed oil from eight variants of prickly pear fruit (Opuntia spp.). Waste and Biomass Valorization11(3), 1181-1189.

Feugang, J. M., Konarski, P., Zou, D., Stintzing, F. C., & Zou, C. (2006).Nutritional and medicinal use of Cactus pear (Opuntia spp.) cladodes and fruits. Front Biosci, 11(1), 2574-2589.

El Mannoubi, I., et al. “Characterization of Opuntia ficus indica seed oil from Tunisia.” Chemistry of Natural Compounds 45.5 (2009): 616.

de Souza, Cinthya Maria Pereira, et al. “Physicochemical characterization and in vitro evaluation of the photoprotective activity of the oil from Opuntia ficus-indica (L.) Mill. seeds.” African Journal of Pharmacy and Pharmacology 8.33 (2014): 824-831.

Alsaad, Alya Jameel Ali, et al. “Extraction and Identification of Cactus Opuntia dillenii Seed Oil and its Added Value for Human Health Benefits.” Pharmacognosy Journal 11.3 (2019).

สอบถามเกี่ยวกับสารสกัดเปลือกมังคุดกับน้ำมันผลกระบองเพชรในนาโนอิมัลชัน (Xanthone Prickly Pear Oil Nanoemulsion)

กรอกข้อมูลของคุณในแบบสอบถามด้านล่างเพื่อติดต่อเรา ทางเราจะตอบกลับให้เร็วที่สุด