บริการทดสอบการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในเครื่องสำอาง (Antioxidant test)

บริการทดสอบ Anti-oxidant

TIBD ให้บริการทดสอบสารออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระให้แก่ธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศไทยและเอเชีย TIBD ของเราเป็นบริษัทที่มุ่งเน้นให้บริการในด้านสุขภาพและความงาม และเทคโนโลยีเชิงลึก ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในด้านนี้ เราเชื่อมั่นในความร่วมมือที่แข็งแกร่งจึงได้นำความเชี่ยวชาญทั้งหมดที่มีมารวมกันเพื่อให้บริการที่เป็นเลิศแก่ลูกค้า TIBD ด้วยความร่วมมือกับสถาบันวิจัยต่างๆ ที่มีการบริการรับตรวจสอบและวิเคราะห์ความสามารถการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัด เครื่องสำอางค์ หรืออาหารเสริม ทั้งวิธีการทดสอบ DPPH, FRAP และ ABTS โดยเราจะวิเคราะห์ค่าความสามารถการต้านอนุมูลอิสระ ในรูปแบบ IC50 ทั้งนี้หากท่านมีความสนใจตรวจสอบและวิเคราะห์ความสามารถการต้านอนุมูลอิสระ วัตถุดิบสมุนไพรของท่าน สามารถติดต่อทางบริษัทได้ทุกช่องทาง

บริการทดสอบสารออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระคืออะไร?

ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยเพื่อทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในสมุนไพร ผัก ผลไม้ หรือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหรือ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม หลากหลายวิธี ยกตัวอย่างวิธีการทดสอบการต้านอนุมูลอิสระ (Anti-Oxidant) ดังนี้

  1. วิธีการทดสอบ DPPH ใช้หลักการเปลี่ยนแปลงสี ของ 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl เมื่อ DPPH ทำปฏิกิริยากับสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สีของสารละลายสีม่วงจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ถ้าตัวอย่างสารมีความสามารถในการต้านออกซิเดชันได้สูง ความเข้มของสารละลายสีม่วงจะลดลง
  2. วิธีการทดสอบ ABTS เป็นวิธีการวิเคราะห์ความสามารถในการต้านออกซิเดชัน (antioxidant capacity) ซึ่งใช้ reagent คือ 2,2’- Azino-bis (3-ethylbenzothiazoline-6-sulfonic acid) diammonium salt เป็น stable radical ใน aqueous solution สารละลายจะมีสีเขียว โดยถ้าตัวอย่างสารมีความสามารถในการต้านออกซิเดชันได้สูง ความเข้มของสารละลายสีเขียวจะลดลง
  3. วิธีการทดสอบ FRAP หรือ Ferric reducing antioxidant power วิธีนี้เป็นการใช้สารประกอบเชิงซ้อนของเหล็ก Fe3+-TPTZ (ferric tripyridyl triazine) เป็นสารทดสอบอะตอมของเหล็ก ซึ่งจะถูกรีดิวซ์โดยสารที่มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันได้เป็นสารประกอบเชิงซ้อนของเหล็ก Fe2+- TPTZ (ferrous tripyridyl triazine) ซึ่งสารสีน้ำเงิน
  4. วิธีการทดสอบ ORAC หรือ Oxygen radical antioxidant capacity วัดความสามารถของสารที่ทดสอบในการยับยั้งอนุมูลเปอร์ออกซี(peroxyradicals) ไม่ให้เข้าทำปฏิกิริยาออกซิเดชัน ซึ่งจะหยุดปฏิกิริยาลูกโซ่ด้วยกลไกการส่งผ่านอะตอมไฮโดรเจน โดยจะไปยับยั้งอนุมูลอิสระที่จะทำปฏิกิริยา เปลี่ยนจากสารเรืองแสงฟลูออเรสเซนส์เป็นสารไม่ให้สารฟลูออเลสเซนส์ ซึ่งปริมาณและความสามารถของสารทดสอบ จะแปรผันตรงกับสารฟลูออเลสเซนส์วิธีนี้จะใช้ สาร β-phycoerythrin(fluorescein) ซึ่งมีคุณสมบัติให้แสงฟลูออเลสเซนส์ สาร β-phycoerythrin จะถูกทำลายด้วยอนุมูลอิสระ ทำให้คุณสมบัติในการดูดกลืนแสงเสียไป

วิธีการทดสอบการต้านอนุมูลอิสระ ยังมีอีกหลายวิธีการ ซึ่งแต่ละวิธีก็มีข้อดี ข้อเสีย และความเหมาะสมกับสารที่ทดสอบแตกต่างกัน โดยค่าที่ได้จากการทดสอบแต่ละวิธีอาจจะไม่ได้มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากกลการเกิดปฏิกิริยาในการทดสอบแตกต่างกัน อีกทั้งสารทดสอบที่มีในสมุนไพร ผัก ผลไม้ ที่ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมีหลายชนิดทั้งมีขั้วและไม่มีขั้ว

กลไกการเกิดอนุมูลอิสระ

การเกิดอนุมูลอิสระ (Free radical) เป็นกลไกทางธรรมชาติของสารที่มีการดึงอิเล็กตรอน จากสารอื่นในบริเวณรอบข้างของโมเลกุลหรืออะตอม ทําให้เกิดความเสถียรตํ่าและมีความไวต่อการเกิดปฏิกิริยา กับโมเลกุลของสารอื่นที่อยู่บริเวณรอบๆของสาร โดยที่โมเลกุลข้างเคียงจะสูญเสียหรือรับอิเล็กตรอนกลายเป็นอนุมูลอิสระตัวใหม่ เกิดเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ (Chain reaction) ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้การเกิดการทํางานที่ผิดปกติของเซลล์ เป็นสาเหตุของการเกิดริ้วรอยบนผิวหน้า อาจลุกลามจนก่อให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น

กลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระ

สารต้านอนุมูลอิสระเป็นสารที่ช่วยป้องกันหรือยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชัน สามารถแบ่งสารต้านอนุมูลอิสระได้เป็น 5 ชนิด ดังนี้

  • Primary antioxidant ซึ่งเป็น phenolic compound ทําหน้าที่หยุดปฏิกิริยา ลูกโซ่ในปฏิกิริยาของการออกซิเดชันไขมัน ทําหน้าที่เป็นตัวให้อิเล็กตรอน
  • Oxygen scarvenger ได้แก่ วิตามินซี (ascorbic acid) โดยทําปฏิกิริยากับออกซิเจน
  • Secondary antioxidant ได้แก่ Thiopro-pionic acid ช่วยสลาย lipid hydroperoxide
  • Enzymatic antioxidant ได้แก่  Superoxide dismutase (SODs), Catalase (CAT) ช่วยกําจัดออกซิเจนและอนุพันธ์ออกซิเจน
  • Metal chelating ได้แก่ กรดซิตริก (citric acid), กรดอะมิโน (amino acid) ทําหน้าที่จับกับไอออนของโลหะ (metal ions)

โดยกลุ่มของสารต้านอนุมูลอิสระส่วนใหญ่จะสามารถพบในสมุนไพร ผัก ผลไม้ ได้แก่ สารประกอบฟีนอลิก แคโรทีนอยด์ ฟลาโวนอยด์ เป็นต้น

สารประกอบแคโรทีนอยด์ในมะเขือเทศ

Anti oxidance_Carotinoid

สารประกอบฟีนอลลิกในองุ่น

สารประกอบฟลาโวนอยด์ในถั่วเหลือง

บริการนี้เหมาะกับใคร?

TIBD ของเราพร้อมให้บริการบริษัทต่างๆ ที่อยู่ในแวดวงสายสุขภาพและความงาม เช่น

  • ซัพพลายเออร์สารสกัดจากธรรมชาติ ส่วนผสมออกฤทธิ์สำคัญในเครื่องสำอาง
  • เจ้าของแบรนด์เครื่องสำอาง
  • ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม
  • หน่วยงานทดสอบความปลอดภัยของเครื่องสำอาง
  • ผู้ผลิตอาหารเสริม

ผลที่ได้รับจากการใช้บริการทดสอบสารออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

มีประโยชน์มากมายที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบสารออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สามารถอธิบายได้หลายประการดังนี้:

  • การวิจัยและผลลัพธ์ที่พิสูจน์แล้วช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับผลิตภัณฑ์
  • ผลการทดสอบสามารถนำไปใช้ในแคมเปญเพื่อการตลาดได้
  • ผลการวิจัยที่พิสูจน์แล้วและผลลัพธ์ที่ได้รับการยืนยันจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าในการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์
  • เจ้าของธุรกิจจะสามารถป้องกันตนเองจากการลงทุนครั้งใหญ่ทั้งในด้านเวลาและเงินหากผลิตภัณฑ์หรือส่วนผสมไม่ได้ผลตามที่คาดไว้ 
  • ลูกค้าคาดหวังรายงานการวิเคราะห์ประสิทธิภาพและแนวทางการใช้งานของผลิตภัณฑ์และส่วนผสม

 

Reference

Shahidi, F., 1997, Natural Antioxidants : an Overview, in F. Shahidi (Ed.), Natural Antioxidants: Chemistry, Health Effects and Applications, AOCS Press, Illinois, pp. 1-7.

Patiwit Loypimai, 2012, Total Antioxidant Capacity Assessments invitro, J Sci Technol MSU, Vol 31, No 2.

โอภา วัชระคุปต์, ปรีชา บุญจูง, จันทนา บุณยะรัตน์, มาลีรักษ์ อัตต์สินทอง. สารต้านอนุมูลอิสระ. กรุงเทพฯ: 2549. พี.เอส.พริ้นท์;.พิมพ์ครั้งที่ 1.

อนงนาฎ ไพนุพงศ์,2017, อนุมูลอิสระและสารต้านอนุมูลอิสระกับสุขภาพ, PKRU Scitech journal, Vol1(2), 20-27.

สอบถามเกี่ยวกับบริการทดสอบการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในเครื่องสำอาง

กรอกข้อมูลของคุณในแบบสอบถามด้านล่างเพื่อติดต่อเรา ทางเราจะตอบกลับให้เร็วที่สุด