TIBD ให้บริการทดสอบปริมาณสารแอนโธไซยานินให้แก่ธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศไทยและเอเชีย TIBD ของเราเป็นบริษัทที่มุ่งเน้นให้บริการในด้านสุขภาพและความงาม และเทคโนโลยีเชิงลึก ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในด้านนี้ เราเชื่อมั่นในความร่วมมือที่แข็งแกร่งจึงได้นำความเชี่ยวชาญทั้งหมดที่มีมารวมกันเพื่อให้บริการที่เป็นเลิศแก่ลูกค้า TIBD

โดยปัจจุบันบริษัท TIBD ได้มีความร่วมมือกับสถาบันวิจัยต่างๆ ที่มีการบริการรับตรวจสอบและวิเคราะห์ปริมาณสารแอนโธไซยานินของสารสกัด ทั้งนี้หากท่านมีความสนใจตรวจสอบและวิเคราะห์ปริมาณสารแอนโธไซยานิน วัตถุดิบสมุนไพรของท่าน สามารถติดต่อทางบริษัทได้ทุกช่องทาง

บริการทดสอบปริมาณสารแอนโธไซยานินคืออะไร?

การวิเคราะห์ปริมาณสารแอนโธไซยานินทั้งหมด สามารถทำได้หลายวิธี เช่น

  1. วิธีการวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่นหนึ่งๆ โดยสารสกัดจะถูกนำไปวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ช่วงความยาวคลื่นสูงสุด สำหรับแอนโธไซยานินความยาวคลื่นสูงสุดที่ถูกดูดกลืนจะอยู่ในช่วง 490-550 นาโนเมตร ซึ่งจะห่างจากสารฟีนอลิกอื่นๆ ที่สามารถดูดกลืนได้ในช่วง 260-320 นาโนเมตร ทำให้สามารถวัดค่าแอนโธไซยานินแยกจากสารฟีนอลิก ได้ แต่วิธีนี้มีข้อจำกัด คือ สารพวก Melanoidin และสารอื่นๆ ที่ได้จากการสลายตัวของ Anthocyanin degradation products สามารถดูดกลืนแสงในช่วงเดียวกับแอนโธไซยานินทำให้ค่าที่วัดได้ไม่ถูกต้อง
  1. วิธีพีเอช-ดิฟเฟอเรนเชียล (pH differential method) ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ข้อบกพร่องข้างต้น และเป็นวิธีการวัดปริมาณแอนโธไซยานินที่ได้รับความนิยมมากที่สุด วิธีพีเอช-ดิฟเฟอเรนเชียล เป็นวิธีที่พัฒนาจากการที่โครงสร้างของแอนโธไซยานิน เปลี่ยนแปลงไปได้ตามการเปลี่ยนแปลงค่า pH ข้อควรระวังของวิธีนี้ คือ ควรตรวจสอบ pH ของสารละลายบัฟเฟอร์ ก่อนใช้เพราะการที่ pH สูงหรือต่ำกว่ามาตราฐาน จะทำให้การวัดปริมาณแอนโธไซยานินไม่ถูกต้อง

วิธีการสกัดสารแอนโธไซยานิน

การสกัดเป็นขั้นตอนแรกของการวิเคราะห์สารแอนโธไซยานิน วิธีการสกัดที่ดีจึงควรที่จะสกัดเอาปริมาณแอนโธไซยานินให้ได้สูงสุด มีการปนเปื้อนของสารอื่นน้อยที่สุด และเกิดการเปลี่ยนแปลงของแอนโธไซยานินน้อยที่สุด วิธีการสกัดสารแอนโธไซยานินจากวัสดุทางธรรมชาติ มีหลากหลายวิธี ได้แก่

  1. วิธีการสกัดแบบซอกห์เลต (Soxhlet extraction) เป็นการสกัดแบบต่อเนื่องโดยใช้ตัวทำละลายที่มีจุดเดือดต่ำ การสกัดด้วยวิธีนี้ใช้ความร้อน จึงอาจทำให้สารสำคัญบางชนิดสลายตัวได้
  1. วิธีการสกัดด้วยไมโครเวฟ (Microwave Extraction) เป็นวิธีการสกัดโดยใช้คลื่นไมโครเวฟ ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อนำวัสดุทางธรรมชาติ ที่จะสกัดไปวางอยู่ในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า จะเกิดแรงต้านการเคลื่อนที่หรือเสียดสีกัน ทำให้เกิดความร้อนขึ้น โดยจะมีผลต่อเซลล์วัสดุทางธรรมชาติ จึงเกิดการสกัดสารสำคัญออกมา
  1. วิธีการสกัดด้วยอัลตราโซนิค (Ultrasound Extractionหรือ Sonication) เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในช่วง 20 ถึง 2,000 กิโลเฮิร์ตซ์ เพื่อทำให้เกิดการสั่นสะเทือน เสียดสีกันกลายเป็นความร้อน ทำให้เกิดการสกัดและเกิดการปลดปล่อยสารสำคัญจากวัสดุทางธรรมชาติออกมา
  1. วิธีการสกัดแบบการหมัก (Maceration Extraction) โดยใช้ตัวทําละลาย ได้แก่ น้ำ, เอทานอล, เมทานอล, อะซิโตนหรือเฮกเซน เป็นต้น ซึ่งวิธีนี้ได้รับความนิยมอย่างมากเนื่องจากทําได้สะดวก ง่าย ไม่ต้องใช้เครื่องมือยุ่งยากในการสกัด แต่สารสกัดที่ได้ออกมาอาจได้สารสำคัญน้อยกว่าวิธีการอื่นๆ

 

ตัวอย่างการรายงานผลการวิเคราะห์ปริมาณสารแอน-โธไซยานิน (สุภาพรและศิรประภา, 2560)

ภาพตัวอย่างการรายงานผลการวิเคราะห์หาปริมาณสารแอนโธไซยานิน (สุภาพรและศิรประภา, 2560) ด้วยวิธีพีเอช-ดิฟเฟอเรนเชียล และยูวี-วิสิเบล สเปกโตรไฟโตมิเตอร์ โดยศึกษาการสกัดสารแอนโธไซยานินจากมะม่วงหาว มะนาวโห่ ด้วยตัวทำละลาย 3 ความเข้มข้น คือ 0.1, 0.5 และ 1% ไฮโดรคลอริกในเมทานอล และเวลาสกัด 24, 36 และ 48 ชั่วโมง ซึ่งจากภาพข้างต้นแสดงผลการสกัดแอนโธไซยานิน 2 ชนิด คือ ไซยานิดิน และ เพลาร์โกนิดิน พบว่าปริมาณแอนโธไซยานินในมะม่วงหาว มะนาวโห่ ที่สกัดด้วยตัวทำละลาย 1% ไฮโดรคลอริกในเมทานอล และเวลาการสกัด 48 ชั่วโมง มีปริมาณสารแอนโธไซยานินมากที่สุด

สารแอนโธไซยานิน (Anthocyanin)

สารแอนโธไซยานิน (Anthocyanin) สามารถพบได้ในทุกส่วนของพืช ทั้งใบ ลำต้น รากและส่วนสะสมอาหารต่างๆ แต่มักจะพบมากในส่วนดอกและผล โดยสารแอนโธไซยานิน เป็นสารรงควัตถุ (Pigment) ที่ให้สีแดง สีม่วง และ สีน้ำเงิน พบมากใน ผลไม้และผักที่มีสีเข้ม ได้แก่ เบอร์รี่ เชอร์รี่ พีช องุ่น หม่อน มะม่วงหาว มะนาวโห่ ทับทิม ข้าวโพดม่วง แครอทม่วง มะเขือม่วง หัวแรดิชสีแดง มันเทศสีม่วง อัญชัน เป็นต้น ซึ่งสีของสารแอนโธไซยานินจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะความเป็นกรด-ด่าง(pH) ในสภาพที่เป็นกรดที่มีค่า pH ต่ำกว่า 3 จะทำให้สารแอนโธไซยานินมีสีแดง ในสภาพที่ค่อนข้างเป็นกลาง ที่ค่า pH ประมาณ 7-8 สารแอนโธไซยานินมีสีม่วง และสภาพที่เป็นเบส ที่ค่า pH มากกว่า 11 สารแอนโธไซยานินจะมีสีน้ำเงิน

แอนโธไซยานินมีโครงสร้างหลักแบบ 2-phenylbenzopyrylium (flavyliumcation) โดยมีรูปอะไกลโคน (aglycones) ที่พบบ่อยมีทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่ cyaniding, delphinidin, petunnidin, malvidinและ pelargonidin รวมถึงสามารถพบในรูปที่ จับกับนํ้าตาล หรือหมู่แทนที่อื่นๆ ปัจจุบันตรวจพบสาแอนโธไซยานินมากกว่า 635 ชนิด

ประโยชน์ของสารแอนโธไซยานิน

แอนโธไซยานินมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการจัดเป็นสาร Functional Food เนื่องจากสารนี้มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) มีงานวิจัยพบว่าสารแอนโธไซยานินมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าวิตามินซีและวิตามินอี, มีคุณสมบัติช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน, ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ, ลดการอักเสบ และมีงานวิจัยสารแอนโธไซยานินที่สกัดจากพืช ที่สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2

นอกจากคุณประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว สารแอนโธไซยานินยังมีประโยชน์ต่อผิวพรรณอีกด้วย เนื่องจากสารแอนโธไซยานิน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จึงมีคุณสมบัติช่วยลดเลื้อนริ้วรอยบนผิวหน้า ดังนั้นจึงมีงานวิจัยหลากหลายที่นำสารแอนโธไซยานินมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบยา, อาหารเสริม และเครื่องสำอาง

บริการนี้เหมาะกับใคร?

TIBD ของเราพร้อมให้บริการบริษัทต่างๆ ที่อยู่ในแวดวงสายสุขภาพและความงาม เช่น

  • ซัพพลายเออร์สารสกัดจากธรรมชาติ ส่วนผสมออกฤทธิ์สำคัญในเครื่องสำอาง
  • เจ้าของแบรนด์เครื่องสำอาง
  • ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม
  • หน่วยงานทดสอบความปลอดภัยของเครื่องสำอาง
  • ผู้ผลิตอาหารเสริม

ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้บริการทดสอบปริมาณสารแอนโธไซยานิน

มีประโยชน์มากมายที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบสารแอนโธไซยานิน สามารถอธิบายได้หลายประการดังนี้:

  • การวิจัยและผลลัพธ์ที่พิสูจน์แล้วช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับผลิตภัณฑ์
  • ผลการทดสอบสามารถนำไปใช้ในแคมเปญเพื่อการตลาดได้
  • ผลการวิจัยที่พิสูจน์แล้วและผลลัพธ์ที่ได้รับการยืนยันจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าในการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์
  • เจ้าของธุรกิจจะสามารถป้องกันตนเองจากการลงทุนครั้งใหญ่ทั้งในด้านเวลาและเงินหากผลิตภัณฑ์หรือส่วนผสมไม่ได้ผลตามที่คาดไว้ 
  • ลูกค้าคาดหวังรายงานการวิเคราะห์ประสิทธิภาพและแนวทางการใช้งานของผลิตภัณฑ์และส่วนผสม

 

 

 

Reference

นราพร พรหมไกรวร, 2013, แอนโทไซยานินกับประเด็นด้านสุขภาพ : โรคเบาหวานชนิดที่ 2, บทความวิชาการ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร, ปีที่ 43 ฉบับที่ 2

สุภาพร ฟักเงิน และศิรประภา มีรอด, 2560, การสกัดแยกหาปริมาณแอนโทไซยานินจากลูกมะม่วงหาว มะนาวโห่, รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 1002-1011.

ฐานิดา รองสุพรรณ์ และ สมใจ ขจรชีพพันธุ์งาม, 2018, ปริมาณแอนโทไซยานิน ฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย และฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากซังข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง ด้วยวิธีการสกัดแบบอัลตราโซนิก, วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ปีที่ 14 ฉบับที่ 1.

นิศารัตน์ ศิริวัฒนเมธานนท์, 2556, อาหารหลากสี มีประโยชน์หลากหลาย(ตอนที่3) สารเคมีที่มีประโยชน์จากผักผลไม้ที่มีสีม่วงและสีน้ำเงิน, บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน.

พัชราภา เหมเงิน, อนงค์ ศรีโสภาและ มนตรา ศรีษะแย้ม, 2562, การเปรียบเทียบวิธีการสกัดปริมาณแอนโทไซยานินและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของมะม่วงหาวมะนาวโห่และลูกหว้า, Agricultural Sci. J. 50 : 1 (Suppl.) : 281-286.

อรุษา เชาวนลิขิต, 2554, การสกัดและวิธีการวิเคราะห์แอนโทไซยานิน, วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), ปีที่ 3 ฉบับที่ 6.

อารีรัตน์ ซื่อดี, 2560, การใช้คลื่นไมโครเวฟสกัดสารสำคัญจากพืชสมุนไพร, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ปีที่ 11 ฉบับที่ 1.

สอบถามเกี่ยวกับบริการทดสอบปริมาณสารแอนโธไซยานิน

กรอกข้อมูลของคุณในแบบสอบถามด้านล่างเพื่อติดต่อเรา ทางเราจะตอบกลับให้เร็วที่สุด